คุณปัญหาเหล่านี้หรือไม่
- เสียงดังภายในโรงงานเวลาฝนตก
- เสียงดังภายในโรงงานเกินค่ากำหนดมาตรฐาน
- เสียงดังเกินทำให้ลดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
- เสียงรบกวนจากส่วนผลิต เข้ามาในส่วนพื้นที่ office
- เสียงก้องภายในห้องประชุม หรือมีเสียงรบกวนจากภายนอก
- เสียงดังจากเครื่องจักร
ทุกปัญหาเรื่องเสียง ปรึกษา ACOUSTIC EXPERT
Acoustic Expert หน่วยงานวิศวกรรมที่ปรึกษาด้านอะคูสติกและเสียงรบกวนครบวงจรช่วยแก้ไขและให้คำปรึกษาเรื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเสียงดังในโรงงาน ปัญหาเสียงก้องในห้องประชุม โรงภาพยนตร์ โฮมเธียร์เตอร์ เป็นต้น
Acoustic Expert บริการออกแบบติดตั้งปรับปรุงระบบงานอะคูสติกทุกประเภทด้วยทีมวิศวกรที่มากด้วยประสบการณ์ โดยมีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เหมาะกับงานแต่ละประเภทด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูงพร้อมการวิเคราะห์ที่อ้างอิงตามมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ
ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียง
OUR TECHNOLOGY
เทคโนโลยีที่ช่วยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- โปรแกรม Engineering Noise Control โดย Prof, Colin Hensen ซึ่งสามารถใช้ออกแบบเกี่ยวกับงาน Noise Control ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Insul 6.2 โปรแกรมทำนายค่า Absorption Coefficient และ Sound Transmission Loss ซึ่งสามารถทำนายคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bruel & Kaer 2250 เครื่องตรวจวัดระดับเสียงที่มีความละเอียดแม่นยำสูง (ตามมาตรฐาน IEC 61672)
- 01 db รุ่น Choreils ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดทาง Room และ Building อะคูสติกสำหรับใช้ในการหาค่า Room Choralis และค่า Sound Transmission Loss ตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ
OUR SERVICES
-
งานด้านการสำรวจ ตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าระดับเสียง รวมทั้งสภาพทางอะคูสติกของบริเวณภายในและภายนอกอาคารบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมทุกประเภท พร้อมนำเสนอรายงานตามมาตรฐาน ISO: 1996
-
งานสร้างแบบจำลองสภาพทางอะคูสติก แบบจำลองระบบเสียงและประเมิณค่าระดับเสียงรบกวนและออกแบบอุปกรณ์ป้องกันเสียงรบกวนด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ผลระดับมืออาชีพที่ทั่วโลกให้การยอมรับ
-
งานทดสอบคุณสมบัติทางอะคูสติกของระบบและวัสดุที่เกี่ยวข้องกับงานอะคูสติกทุกประเภท ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและห้องปฏิบัติการของต่างประเทศ
-
ดำเนินการติดตั้ง ปรับปรุงและแก้ไขด้วยวัสดุ หรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สภาพอะคูสติกหรือป้องกันเสียงรบกวนตามที่ลูกค้าต้องการ
- ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียง
ตัวอย่างผลงานระบบเสียงของเรา
ผลงานติดตั้งฉนวนดูดซับเสียง Zandera
สวนช้างเผือกแห่งเชียงใหม่ กับการตกแต่งภายในเพื่อรังสรรค์ สุนทรียภาพทางเสียง
ห้อง Theater มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แก้ปัญหาเสียงดังห้อง Control
งานติดตั้งฝ้าอะคูสติก สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
งานติดตั้งฉนวนกันเสียง สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย
เปลี่ยนห้องให้เป็นโฮมเธียเตอร์ ด้วย Cylence Zandera
เปลี่ยนมุมเปล่าเป็นมุมโปรด ตอน ห้องดูหนังฟังเพลง สไตล์ ชิคๆ
วัสดุดูดซับเสียง Vs วัสดุกันเสียง
คงไม่เป็นการดีแน่ๆ ถ้าเราจะต้องทำงานหรืออยู่อาศัยในห้องที่ถูกเสียงรบกวนตลอดเวลา เพราะเสียงรบกวนจะทำให้เราหงุดหงิด ไม่สบายใจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ก็ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเราในระยะยาวด้วย ดังนั้น การควบคุมเสียงในห้องต่างๆ ที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้วัสดุกันเสียง และวัสดุดูดซับเสียง ทั้งนี้ เราจะไปทำความเข้าใจกันว่า ทั้ง 2 วัสดุนี้ มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้สามารถเลือกใช้และเสริมสร้างระบบควบคุมเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัสดุกันเสียง หรือ Sound Isolation
คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ “กั้นเสียง” ไม่ให้ทะลุผ่านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง หรือกั้นเพื่อไม่ให้เสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามายังภายในห้องได้ รวมไปถึงการกั้นเสียงจากภายในไม่ให้ออกไปภายนอกด้วย ทั้งนี้ วัสดุกันเสียงส่วนใหญ่จะใช้กับผนัง เช่น ฉนวนกันเสียง ที่สามารถใช้ได้กับทั้งผนังแบบก่ออิฐ และผนังโครงเบา โดยการติดตั้งนั้น สามารถทำได้ด้วยการติดตั้งโครงคร่าวบนผนังเก่า ใส่ฉนวนกันเสียงลงไป และปิดด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือสามารถติดบนฝ้าเพดานก็ได้
วัสดุดูดซับเสียง หรือ Sound Absorbtion
แผ่นซับเสียง แผ่นดูดซับเสียง คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ “ลดเสียงก้อง” และ “ลดเสียงสะท้อน” ภายในห้องที่อาจรบกวนการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องได้ อาทิ การทำงาน การประชุม การพูดคุย หรือว่าการดูหนังฟังเพลง ฯลฯ วัสดุดูดซับเสียงมีทั้งสำหรับผนัง ฝ้าเพดาน และแบบปูพื้น โดยผนังดูดซับเสียง จะเป็นแผ่นบุที่หุ้มด้วยผ้าชนิดพิเศษเคลือบสารไม่ลามไฟ หรือหุ้มด้วยผ้าใยแก้วพิเศษ ส่วนแผ่นฝ้าดูดซับเสียงนั้น โดยมากจะเป็นแผ่นฝ้ากลาสวูดหรือแผ่นฝ้ายิปซัม และสุดท้ายสำหรับพื้นดูดซับเสียง มักนิยมใช้เป็นพรมอัดชนิดลูกฟูก
เมื่อเราทราบถึง “คุณสมบัติ” และ “หน้าที่” ของวัสดุกันเสียงและวัสดุซับเสียงแล้ว เราก็จะสามารถดีไซน์การควบคุมเสียงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ หากเราต้องการให้ห้อง บ้าน หรืออาคารของเรา ป้องกันเสียงดังรบกวนที่เกิดขึ้นรอบบริเวณใกล้เคียง เราก็จำเป็นต้องเน้นไปที่เรื่องของวัสดุกันเสียงเป็นสำคัญ เพราะมีคุณสมบัติในการกันเสียงจากด้านนอกเข้ามาสู่ด้านใน ซึ่งจะทำให้เราไม่ได้รับเสียงรบกวนจากภายนอก
กลับกันสำหรับห้องประชุม หรือห้องสัมมนา ที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คนทำงานสามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื่น ไม่หงุดหงิดใจ การเลือกใช้วัสดุซับเสียง บุผนัง ฝ้า พื้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนลงได้ องค์ประกอบของการควบคุมเสียงเหล่านี้ คือสิ่งที่ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้อาคาร หรือบ้านที่สร้างออกมา ปราศจากเสียงรบกวนที่บั่นทอนความสุขในการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งควรอย่างยิ่งที่จะวางแผนและขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยตรง ในการสร้างหรือเสริมแต่งปรับปรุง
หลักการออกแบบอะคูสติกของห้องเบื้องต้นนั้น มีหลักคิดง่ายๆ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. ป้องกันเสียงจากภายนอก ไม่ให้เสียง เข้า-ออก ได้จนเกินพอดี
“Reduce Sound Transmission Between Rooms” หรือ การลดเสียงเข้า-ออก ระหว่างห้อง ถือเป็นหัวใจสำคัญแรกที่เราจะต้องคำนึงถึง เพื่อการออกแบบให้ห้องได้รับเสียงที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการจัดการกับขั้นตอนนี้นั้น ก็คือการพิถีพิถันตั้งแต่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ที่จะเลือกใส่วัสดุที่สามารถลดเสียงจากภายนอกเข้ามาภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากเราเลือกใช้วัสดุที่ปล่อยให้เสียงเข้ามาได้ง่ายเกินไป ก็จะทำให้ห้องของเราเสียงดัง และก่อความรำคาญได้ง่ายจนอยู่ได้อย่างไม่มีความสุขนั่นเอง
2. การควบคุมเสียงภายใน ให้ไม่สะท้อนย้อนทำร้ายตัวเราเอง
“Control Sound Reverberation in the Room” หรือ การควบคุมการสะท้อนของเสียงในห้อง เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำนอกเหนือจากการลดเสียงเข้าออกจากภายนอก เพราะหากเราไม่ทำการควบคุมการสะท้อนภายในห้องให้เหมาะสมแล้ว เสียงที่ผ่านเข้าห้องเรามาจากภายนอก แม้จะถูกลดทอนระดับเสียงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังสามารถเข้ามาสะท้อนภายในห้องเรา เกิดเป็นเสียงก้อง ที่สร้างความรำคาญใจได้
ในขณะเดียวกัน เสียงที่เกิดจากภายในห้องเราเอง ที่ไม่ได้รับการควบคุมจากภายใน ก็จะก้องสะท้อนจนทำให้มีประสิทธิภาพลดลง ผู้ฟังหรือผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ได้ยินไม่ชัด หรือลดอรรถรสของเสียงนั้นลง อย่างเช่นในห้องประชุมที่เสียงก้องเกินไปจนผู้ร่วมประชุมฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ทั่วถึง หรือห้องแสดงดนตรีที่เสียงสะท้อนเยอะเกินไปจนทำให้เสียงนักร้องถูกลดความไพเราะลงได้ เป็นต้น นั่นเองจึงทำให้ในการออกแบบห้อง ต้องออกแบบให้มีวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี และมีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับห้องแต่ละประเภทด้วย
ทำความรู้จักค่า NC
ห้องแต่ละห้องล้วนต้องการความสงบเงียบที่แตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างไป สำหรับบางห้องในอาคาร ต้องการความสงบส่วนตัวมากๆ แต่สำหรับบางห้อง ก็สามารถยอมรับเสียงที่ดังขึ้นได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการควบคุมให้ระดับเสียงในพื้นที่นั้นๆ เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการรบกวนนั่นเอง
ค่า NC คืออะไร
ค่า NC หรือ ค่า Noise Criteria หมายถึง ค่าระดับเสียงพื้นฐานภายในอาคาร หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ ค่าความเงียบ ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อวัดความความเงียบที่เหมาะสมภายในห้องหรือภายในอาคารต่างๆ โดย Leo Beranek ผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกชาวอเมริกัน
ค่า NC มีความสำคัญอย่างไร
ค่า NC มีความสำคัญคือ เป็นค่าที่ใช้กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมว่า ภายในพื้นที่นั้นๆ ควรมีความเงียบเท่าไร เป็นตัวเลขค่ามาตรฐานที่ใช้กำหนดเกณฑ์การควบคุมเสียงภายในโรงพยาบาล โรงแรม โบสถ์ โรงละคร ห้องสตูดิโอ ฯลฯ เพื่อให้ห้องแต่ละห้องนั้น ได้รับการควบคุมเสียงให้ไม่รบกวน และทำให้กิจกรรมภายในห้องนั้นๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
อย่างเช่นโรงแรม 5 ดาวเอง ในพื้นที่ล็อบบี้ หรือภายในห้อง ก็จำเป็นต้องได้รับการออกแบบและสร้างออกมาให้มีค่า NC หรือค่าความเงียบตามกำหนด เพราะหากเสียงดังเกินจากที่กำหนดไว้ จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และสร้างความรบกวนต่อลูกค้า ไม่สมกับที่เป็นโรงแรม 5 ดาวนั่นเอง
วิธีการใช้ค่า NC ทำได้อย่างไร
แนวทางในการใช้ค่า NC เข้ามาออกแบบห้องและอาคารของเราให้สามารถควบคุมเสียงได้อย่างมีมาตรฐานและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่นั้น สามารถทำได้โดย การกำหนดให้ได้ก่อนว่า “เราต้องการให้พื้นที่นั้นๆ” มีค่า NC เท่าไร หลังจากนั้นจึงทำการวัดเสียงในพื้นที่โดยรอบว่า มีระดับความเสียงอยู่ที่เท่าไร แล้วจึงดำเนินการเลือกใช้วัสดุป้องกันเสียงและวัสดุซับเสียงมาออกแบบห้องเพื่อควบคุมให้มีค่า NC หรือค่าความเงียบตามที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น
เราต้องการห้องนอนที่มีค่า NC เท่ากับ 35
แต่เราวัดระดับเสียงได้อยู่ที่ 50 เดซิเบล
เราก็จำเป็นต้องออกแบบห้องด้วยการควบคุมเสียงโดยเลือกใช้วัสดุป้องกัน ร่วมกับวัสดุซึมซับเสียง ให้สามารถลดระดับเสียงลงให้ได้ และตรวจวัดค่า NC ให้เท่ากับ 35 ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยตรง เพราะหากดำเนินการเอง เราอาจไม่ได้ห้องที่มีค่า NC ตรงตามต้องการ และอาจไม่สามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำงานได้ดีเท่าที่ควร
ตัวอย่างระดับค่า NC ที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ต่างๆ
ลักษณะพื้นที่และค่า NC ที่เหมาะสม
ที่พักอาศัยในเมือง 25-35
ที่พักอาศัยนอกเมือง 20-30
ห้องภายในโรงแรม 30-40
ห้องพักภายในโรงพยาบาล 25-35
สถานปฏิบัติธรรม 20-30
โรงละคร 15-25
สำนักงานทั่วไป 35-45
การให้ความสำคัญกับค่า NC หรือค่าความเงียบภายในห้อง ภายในอาคารนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ห้องแต่ละห้องสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้นๆ หรือผู้คนที่ร่วมใช้พื้นที่นั้นๆ สามารถทำกิจกรรมในพื้นที่ได้อย่างมีความสุข อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดในทุกๆ มิติ