บริการออกแบบ แก้ไขปัญหาเสียงห้องประชุม

บริการออกแบบและแก้ปัญหาเสียงในห้องประชุม แบบครบวงจรโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

ออกแบบห้องประชุม

Our Service

บริการให้คำปรีกษา ฟรี!
โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

บริการตรวจวัดระดับเสียงหน้างานด้วยโปรแกรมวิเคราะห์และอุปกรณ์ที่ทันสมัยพร้อมนำเสนอรายงาน

บริการออกแบบอะคูติกภายในห้องประชุม แบบครบวงจร เพื่อตอบโจทย์ทุกการใช้งาน

บริการติดตั้งระบบผนังซับเสียงและอะคูสติก เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ

ทำไมต้อง Cylence Expert

เครื่องวัดระดับเสียง

ดูแลโดยทีมวิศวกรผู้เชียวชาญเฉพาะทางเรื่องเสียงด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย

แก้ปัญหาตรงจุดตอบโจทย์ทุกความต้องการโดยคำนึงงบประมาณของลูกค้าเป็นหลัก

เลือกใช้วัสดุอะคูสติกที่มีคุณภาพ เพื่อการแก้ปัญหาเรื่องเสียงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

มีการวิจัยและพัญนาเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับงานอยู่เสมอ

ขั้นตอนการให้บริการ

รับฟังปัญหา

สำรวจหน้างาน

เสนอราคา

ชำระค่าบริการ

เข้าติดตั้ง

ส่งมอบงาน

แพ็กเกจห้องประชุม

SMART Package

Conference Ceiling Solution

388,000 บาท
  • ใช้งานได้ 8-16 คน
  • 1 Ceiling microphone (ครอบคลุมพื้นที่ 36 ตร.ม.)
  • 1 Remote conference processor
  • 1 PoE Switching
  • 2 Speakers
  • เพิ่มไมค์ได้ 100,000 บาท : ตัว
  • เพิ่ม Zandera 2,500 บาท : ตร.ม.
SMART Package

Conference Tabletop Solution

288,000 บาท
  • ใช้งานได้ 8-16 คน
  • 1 Tabletop microphone (ครอบคลุมพื้นที่ 36 ตร.ม.)
  • 1 Remote conference processor
  • 1 PoE Switching
  • 2 Speakers
  • เพิ่มไมค์ได้ 20,000 บาท : ตัว
  • เพิ่ม Zandera 2,500 บาท : ตร.ม.
ECO Package

Eco- Small Conference Room

52,000 บาท
  • ใช้งานได้ 4-8 คน
  • ลำโพง YVC-1000(ครอบคลุมพื้นที่ 25 ตร.ม.)
  • 2 Speakers (ครอบคลุมพื้นที่ 25 ตร.ม.)
  • เพิ่มไมค์ได้ 13,000 บาท : ตัว
  • เพิ่ม Zandera 2,500 บาท : ตร.ม.

ตัวอย่าง : การทำห้องกันเสียงเครื่องตัดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ โรงงานสระบุรี

ปัญหาที่พบ :  เสียง เกินมาตรฐานที่กม.กำหนดโดยวัดได้ 91dB จึงต้องการลดเสียงรบกวนในห้องตัดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ให้ต่ำกว่า  85dBA ภายในพื้นที่ ที่พนักงานทำงาน 8ชม.

แนวทางแก้ไข :  ทำห้องครอบกันเสียง ให้ได้ค่าต่ำกว่ามาตรฐาน

ห้องครอบกันเสียง

เข้าสำรวจหน้างาน และทำการวัดเสียงบริเวณเครื่องจักร

 เข้าสำรวจหน้างานและทำการวัดเสียง โดยได้ค่า 91dB ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด คือ 85dB

ห้องครอบเครื่องจักร

เริ่มติดตั้งโครงสำหรับห้องครอบเครื่องจักร

ห้องครอบเครื่องจักร

ห้องครอบเครื่องจักร

ดำเนินการติดตั้งห้องครอบเครื่องจักร

เครื่องจักร

หลังจากติดตั้งเสร็จ ทำการวัดเสียงอีกครั้ง โดยเสียงลดลง 10 dBA จาก 91.1 dBA เหลือ 81.1 dBA ทำให้ผ่านข้อกำหนดกฏหมายภายในโรงงานที่ไม่เกิน 85dBA และพนักงานที่ทำงานแจ้งว่าหลังติดตั้งเสียงเบาลงเยอะ

ตัวอย่าง   :  การติดตั้งแผ่นซับเสียงห้องทดสอบเครื่องยนต์ โรงงานในปราจีนบุรี

ปัญหาที่พบ :  ห้อง Test เครื่องยนต์เสียงดังมากทำให้ให้พนักงานที่เข้ามาเปลี่ยนเครื่องยนต์สำหรับทดสอบได้รับมลพิษทางเสียง

แนวทางแก้ไขติดตั้งแผ่นซับเสียง Cylence Zoftone ในห้องเครื่องจักรจะช่วยลดเสียงภายในโดยจะช่วยลดเสียงลงได้จากเดิม 4-7 dBA

เข้าสำรวจหน้างานและวัดความดังของเครื่องจักรซึ่งวัดได้ 102.7dBA เกินค่ามาตรฐานที่กม. กำหนด และทำการติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังดูดซับเสียง รุ่น Zoftone บริเวณผนังในห้องเครื่องจักร

Cylence Zoftone

ติดตั้งวัสดุอะคูสติก สำหรับผนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณเพดาน

ผนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone

ติดตั้งวัสดุอะคูสติก สำหรับผยนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณประตู

ทำการวัดเสียง หลังจากติดตั้งแผ่นซับเสียง Cylence Zoftone ภายในห้อง เสียงในห้องจากเดิมที่ดังอยู่ 102.7dBA หลังติดตั้งเสียงลดลงเหลือ 91.6 dBA ภายนอกห้องก่อนติดตั้ง และหน้าห้องที่ติดตั้งจากเดิมค่าเสียงที่วัดได้อยู่ที่ 76.4dBA หลังติดตั้ง Zoftone บริเวณหน้าห้องลดลงเหลือ 68.1 dBA/ โดยพนักงานแจ้งว่าได้ยินน้อยลงกว่าเดิม

ตัวอย่าง การทำห้องครอบเครื่องบดเศษแก้ว ในโรงงานจ.สระบุรี

ปัญหาที่พบ เนื่องจากชุมชนร้องเรียนต้องการให้ลดเสียงจากเครื่องบดเศษแก้วและBlower  จึงต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด

แนวทางก้ไข : ทำห้องครอบกันเสียงและปล่องซับเสียงที่ Blower พร้อมคำนวณว่าสามารถลดเสียงลงได้ประมาณ 10dBA และเพื่อช่วยลดเสียงให้กระทบชุมชนให้น้อยลง

ติดตั้งเสียง

เข้าทำการสำรวจและวัดเสียงหน้างาน ก่อนติดตั้งเสียงดังอยู่ 94.3dBA ดังอยู่ 94.3dBA

เครื่องบดแก้ว

ตรวจสอบตัวเครื่องบดแก้วที่ เสียงดังรบกวน ก่อนติดตั้งห้องครอบ

เครื่องจักร

ติดตั้งห้องครอบเครื่องจักรเพื่อลดเสียงไม่ให้ดังออกไปรบกวนชุมชนใกล้คียง

รุ่น Cylence Zoftone

ด้านในติดตั้งวัสดุอะคูสติก เอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียงรุ่น  Cylence Zoftone โดยรอบห้องครอบ

รุ่น Cylence Zoftone 2

ติดตั้งห้องครอบ เครื่องบดเศษแก้ว

เครื่องจักร

ขั้นตอนสุดท้าย ทำการวัดเสียงหลังจากติดตั้งห้องครอบกันเสียงที่เครื่อง Cyclone รวมปล่องซับเสียงเครื่อง Blower เสียงลดลงเหลือ 82.1dBA /   โดยทางชุมชนไม่ร้องเรียนเรื่องเสียงดังจากเครื่องบดเศษแก้วอีกต่อไป

ตัวอย่าง :  การทำผนังกันเสียงห้อง Control ในโรงงาน ที่กาญจนบุรี

ปัญหาที่พบ :  เสียงรบกวนจากเครื่องจักรเข้าภายในห้องคอนโทรล

แนวทางแก้ไข :  เสริมผนังกันเสียงนอกห้องคอนโทรล ปิดหน้าต่างบางส่วนและเสริมหน้าต่างใหม่อีก 1 ชั้น เสริมประตูกันเสียงอีกชั้นนึงและทำห้องต่อจากประตูเดิมสำหรับเปิด 2 ชั้น [Soundlock]

เครื่องจักร

สำรวจหน้างานบริเวณ ห้องคอนโทรลภายในโรงงาน

ติดตั้งผนังกันเสียง

ติดตั้งผนังกันเสียงบริเวณห้องคอนโทรล ที่เสียงดังรบกวน

ผนังกันเสียง

ผนังกันเสียง

หลังดำเนินการติดตั้งแล้ว เสียงภายในห้องลดลง จากเดิมที่วัดค่าอยู่ที่ 69.0 dBA หลังปรับปรุงเหลือ 63.3 dBA ลูกค้าได้ยินเสียงเครื่องจักรเข้ามาในห้อง Control น้อยลง

ดังนั้นการควบคุมเสียง ในโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ ผู้ประกอบการทุกราย ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสหกรรมใดก็ตาม เพื่อให้พนักงานได้ทำงานอย่างปลอดภัย ไร้มลพิษทางเสียง และเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชนใกล้เคียง ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืน

และที่สำคัญ จำเป็นต้องอาศัยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงในโรงงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทีมงาน Cylence Expert  เป็นทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ด้านอะคูสติก ที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงในโรงงานทุกรูปแบบ ด้วยทีมงานคุณภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องเสียง อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาเรื่องเสียงแก้ไขได้

ส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักร มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังรบกวน ดังนั้นจึง ควรมีการตรวจสอบเช็คสภาพของเครื่องจักรอยู่เป็นประจำ ว่าเกิดชำรุดหรือไม่ หากพบว่าชำรุดก็ควรรีบซ่อมแซม หรือหากเป็นเครื่องจักรใหม่ ที่มีเสียงดังรบกวน ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไข

  • การทำห้องครอบเครื่องจักร เพื่อควบคุมเสียงไม่ให้ออกไปรบกวนบริเวณพื้นที่ส่วนอื่นๆที่รบกวนการทำงานของพนักงาน และพื้นที่ข้างเคียง โดยติดตั้งวัสดุอะคูสติก เอสซีจี สำหรับผนัง กันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock หรือ วัสดุอะคูสติก  เอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียง รุ่น Zoftone ภายในห้องครอบ
  • การทำผนังซับเสียง โดยการติดตั้งวัสดุอะคูสติก เพื่อช่วยซับเสียง เครื่องจักร บริเวณผนัง โดยใช้วัสดุอะคูสติกเอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บุด้านในเพื่อช่วยลดความดังของเสียง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความดังของเสียง และแต่ละสถานประกอบการ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอะคูสติก ให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • การตรวจวัดเสียงจากสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการตรวจวัดและประเมินเสียงรบกวนที่เกิดจากการทำงานในโรงงานจนอาจเป็นปัญหากับพนักงานในโรงงาน
  • การตรวจวัดเสียงรบกวน เป็นการตรวจและประเมินเสียงรบกวนที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ว่าเป็นปัญหาจนทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบหรือไม่
  • การตรวจวัดเสียงจากสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นการตรวจประเมินเสียงทั่วไปที่เกิดขึ้นรอบ ๆ บริเวณชุมชน เพื่อดูว่ามีปัญหามลพิษทางเสียงรบกวนหรือไม่ ซึ่งโรงงานก็ถือเป็นสภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่หากถูกตรวจวัดว่าเป็นมลพิษต่อชุมชน ก็ต้องมีการปรับ และวางมาตรฐานป้องกันแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม
  • การตรวจวัดเสียงจากสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงาน อยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ ถ้าพนักงานทำงาน 8 ชั่วโมงทำงาน หรือเวลาการได้สัมผัสเสียง 8 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ยต่อการทำงานต้องไม่เกิน 90 เดซิเบลเอ และยังกำหนดระดับเสียงสูงสุดของการทำงานแต่ละวัน จากค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน รวมทั้งเสียงกระแทกกระทบ ต้องไม่เกิน 140 เดซิเบลเอ ซึ่งหากเกินนายจ้างต้องปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานให้เสียงเบาลง แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องหาอุปกรณ์ป้องกันให้กับพนักงานเพื่อลดเสียงไม่ให้เกินมาตรฐาน
  • กำหนดค่าระดับเสียงเฉลี่ยนต่อเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากับ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไปต้องมีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามประกาศสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องควบคุมไม่ให้บริเวณปฏิบัติงานในโรงงานมีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด และห้ามให้พนักงานเข้าไปทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังเกินกว่า 140 เดซิเบลเอ
  • ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ฉบับ 29 (พ.ศ. 2550) และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องเสียงรบกวน 2548 มีแนวทางในการกำหนดเรื่องระดับเสียงรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ได้แก่ ค่าระดับเสียงรบกวน ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงสูงสุด ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ สามารถเข้าในโรงงาน สถานที่เพื่อตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ เครื่องจักร หรือกระทำการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนได้
  • กรณีตรวจพบว่ามีการกระทำความผิด หรือสงสัยว่ากระทำ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจสามารถจับกุมส่งสอบสวนได้ตามกฎหมาย
  • กรณีพบว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลและทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสามารถสั่งระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนได้ หรือสั่งให้แก้ไข ปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ในกรณีที่เห็นสมควร
  • หากได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงแล้วว่าโรงงานผิดกฎหมายด้านการควบคุมเสียง แต่ยังฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละ 5,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือยังไม่ปฏิบัติแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงหากมีการห้ามใช้เครื่องจักรที่มีปัญหาเสียงดังแล้ว แต่ยังมีการฝ่าฝืน ก็ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน

โรงงานเสียงดัง ในมุมของผู้ประกอบการนั้นอาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องกังวลมากนัก เพราะถือเป็นเรื่องปกติที่ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ทำงานอยู่ตลอดเวลา ปัญหาเสียงดังจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้ โรงงานเสียงดัง โดยที่ไม่มีการป้องกันแก้ไข ไม่มีการติดแผ่นกันเสียง หรือทำระบบกันเสียงเพื่อลดเสียงดังให้เบาลง ก็อาจส่งผลเสียร้ายแรงกระทบต่อธุรกิจได้ ดังต่อไปนี้

1.ถูกตรวจสอบว่าเป็นโรงงานผิดกฎหมาย

ตามกฎหมายแล้ว ในการประกอบธุรกิจ การทำโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการจะต้องควบคุมดูแลไม่ให้เกิดเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ซึ่งหากไม่ได้มีการควบคุมป้องกันแก้ไข ปล่อยให้เสียงดังภายในบริเวณโรงงานสูงเกิดมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ก็จะถือว่าทำผิดกฎหมาย ที่อาจถูกปรับ หรือถึงขั้นถูกสั่งพักกิจการช่วยคราวได้ โดยหากชะล่าใจปล่อยให้ถูกตรวจสอบแล้วถูกพักกิจการล่ะก็ จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไม่อาจประเมินมูลค่าได้เลยทีเดียว

2.ถูกชุมชนประท้วงเรียกร้องจนเสียภาพลักษณ์

แน่นอนว่าเมื่อกฎหมายกำหนดให้มีระดับเสียงมาตรฐานที่โรงงานต้องควบคุมให้ได้ แต่หากโรงงานเพิกเฉย ปล่อยให้เสียงดังทะลุออกไปรบกวนชุมชนภายนอก ปัญหาที่ใหญ่ตามมาก็คือ ผู้คนในชุมชนอาจลุกฮือขึ้นมาเรียกร้อง ประท้วงการดำเนินกิจการของโรงงานได้

เนื่องจากเสียงดังจากโรงงานรบกวนความสงบสุขในการอยู่อาศัย โดยหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริง ไม่เพียงภาพลักษณ์ของโรงงานจะเสียหายแล้ว อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องเรื่องการทำผิดกฎหมายการควบคุมเสียงดังภายในโรงงานตามมาได้

3.พนักงานทำงานผิดพลาดจนเกิดความเสียหาย

เสียงดังภายในโรงงานนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายในโรงงาน ซึ่งการที่กฎหมายควบคุมเอาไว้ไม่ให้เสียงดังเกิน 85 เดซิเบลก็เพราะ เสียงดังอาจทำอันตรายต่อร่างกาย และจิตใจของพนักงานได้ ซึ่งหากพนักงานเกิดบาดเจ็บ หรือมีปัญหาทางร่างกายขึ้นมาเนื่องจากเสียงดังในโรงงานล่ะก็ บริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษา และยังเสี่ยงถูกฟ้องร้องตามมาได้ด้วย

ในขณะเดียวกัน พนักงานที่ถูกเสียงดังรบกวนเล่นงาน ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่น้อยลง อาจเกิดผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อผลประการได้

ถ้าอยากป้องกันเสียงจากภายนอกอาคาร เสียงรถ เสียงถนน เสียงก่อสร้าง ต้องทำอย่างไร? แล้วถ้าอยากลดเสียงสะท้อน เสียงก้องในห้องประชุมต้องจัดการแบบไหน การทำความเข้าใจเรื่องวัสดุกันเสียงและวัสดุซับเสียง มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถจัดการควบคุมเสียงในชีวิตเราได้ดีมากยิ่งขึ้น

วัสดุดูดซับเสียง Vs วัสดุกันเสียง

คงไม่เป็นการดีแน่ๆ ถ้าเราจะต้องทำงานหรืออยู่อาศัยในห้องที่ถูกเสียงรบกวนตลอดเวลา เพราะเสียงรบกวนจะทำให้เราหงุดหงิด ไม่สบายใจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ก็ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเราในระยะยาวด้วย ดังนั้น การควบคุมเสียงในห้องต่างๆ ที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้วัสดุกันเสียง และวัสดุดูดซับเสียง ทั้งนี้ เราจะไปทำความเข้าใจกันว่า ทั้ง 2 วัสดุนี้ มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้สามารถเลือกใช้และเสริมสร้างระบบควบคุมเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัสดุกันเสียง หรือ Sound Isolation

คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ “กั้นเสียง” ไม่ให้ทะลุผ่านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง หรือกั้นเพื่อไม่ให้เสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามายังภายในห้องได้ รวมไปถึงการกั้นเสียงจากภายในไม่ให้ออกไปภายนอกด้วย ทั้งนี้ วัสดุกันเสียงส่วนใหญ่จะใช้กับผนัง เช่น ฉนวนกันเสียง ที่สามารถใช้ได้กับทั้งผนังแบบก่ออิฐ และผนังโครงเบา โดยการติดตั้งนั้น สามารถทำได้ด้วยการติดตั้งโครงคร่าวบนผนังเก่า ใส่ฉนวนกันเสียงลงไป และปิดด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือสามารถติดบนฝ้าเพดานก็ได้

วัสดุดูดซับเสียง หรือ Sound Absorbtion

คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ “ลดเสียงก้อง” และ “ลดเสียงสะท้อน” ภายในห้องที่อาจรบกวนการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องได้ อาทิ การทำงาน การประชุม การพูดคุย หรือว่าการดูหนังฟังเพลง ฯลฯ วัสดุดูดซับเสียงมีทั้งสำหรับผนัง ฝ้าเพดาน และแบบปูพื้น โดยผนังดูดซับเสียง จะเป็นแผ่นบุที่หุ้มด้วยผ้าชนิดพิเศษเคลือบสารไม่ลามไฟ หรือหุ้มด้วยผ้าใยแก้วพิเศษ ส่วนแผ่นฝ้าดูดซับเสียงนั้น โดยมากจะเป็นแผ่นฝ้ากลาสวูดหรือแผ่นฝ้ายิปซัม และสุดท้ายสำหรับพื้นดูดซับเสียง มักนิยมใช้เป็นพรมอัดชนิดลูกฟูก

เมื่อเราทราบถึง “คุณสมบัติ” และ “หน้าที่” ของวัสดุกันเสียงและวัสดุซับเสียงแล้ว เราก็จะสามารถดีไซน์การควบคุมเสียงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ หากเราต้องการให้ห้อง บ้าน หรืออาคารของเรา ป้องกันเสียงดังรบกวนที่เกิดขึ้นรอบบริเวณใกล้เคียง เราก็จำเป็นต้องเน้นไปที่เรื่องของวัสดุกันเสียงเป็นสำคัญ เพราะมีคุณสมบัติในการกันเสียงจากด้านนอกเข้ามาสู่ด้านใน ซึ่งจะทำให้เราไม่ได้รับเสียงรบกวนจากภายนอก

กลับกันสำหรับห้องประชุม หรือห้องสัมมนา ที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คนทำงานสามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื่น ไม่หงุดหงิดใจ การเลือกใช้วัสดุซับเสียง บุผนัง ฝ้า พื้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนลงได้ องค์ประกอบของการควบคุมเสียงเหล่านี้ คือสิ่งที่ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้อาคาร หรือบ้านที่สร้างออกมา ปราศจากเสียงรบกวนที่บั่นทอนความสุขในการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งควรอย่างยิ่งที่จะวางแผนและขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยตรง ในการสร้างหรือเสริมแต่งปรับปรุง

ติดต่อเรา

เรามีทีมวิศวกรผู้ชำนาญเรื่องเสียงโดยเฉพาะ มีประสบการณ์การออกแบบและการแก้ไขปัญหา ทั้งการจัดการเสียงในบ้านเพื่อการพักอาศัย หรือ การจัดการเสียง ออกแบบห้องประชุม ห้องสัมมนา การแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน การออกแบบห้องซ้อมดนตรี ห้องอัดเสียง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเสียงเรื่องใด เรามีคำตอบ พร้อมวิธีแก้ไขให้ดท่านได้ สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาโดยฝากข้อมูลติดต่อกลับไว้ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องจะช่วยดูแลต่อไปครับ

Add LINE ถามตอบกับเราได้เลย
LINE@ Acoustic Expert

👥ลงทะเบียนปรึกษาเจ้าหน้าที่ฟรี
คลิก https://bit.ly/34izYPG

🛒ช็อปเลยผ่าน SCG HOME

ท่านสามารถขอยกเลิกความยินยอม ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลที่ Acoustic Expert เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ โดยที่ระบุไว้ใน นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อที่ data.privacy@scg.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า