ถือเป็นโจทย์ปัญหาหนักโจทย์หนึ่งเลยก็ว่าได้สำหรับผู้ประกอบการโรงงานที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ส่งเสียงดังตลอดเวลา เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงงานแล้ว ถ้าหากเสียงดังมากจนควบคุมได้ไม่ดี ก็อาจเป็นผลทำให้เสียงดังออกไปสร้างปัญหารบกวนผู้คนในชุมชนได้ ซึ่งแน่นอนว่ามีโอกาสถูกฟ้องร้องจนเป็นเหตุให้ถูกกฎหมายลงโทษได้ด้วย ถ้าหากตรวจวัดระดับเสียงแล้วพบว่า เครื่องจักรโรงงานของเราส่งเสียงดังเกินเกณฑ์กว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นวันนี้ เราจึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรโรงงานมาฝากกันครับ เพื่อให้เพื่อนๆ ผู้ประกอบการได้เลือกนำไปใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์โรงงานของตนเอง โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรโรงงานนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ตรวจเช็คสภาพเครื่องจักรให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องจักรทำงานเสียงดังกว่าปกตินั้น ส่วนหนึ่งก็มากจากการที่เราอาจจะไม่ได้ดูแล ตรวจสภาพเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอก็เป็นได้ จึงทำให้เครื่องจักรทำงานแบบตัดขัด มีความสึกกร่อนที่ทำให้เกิดการเสียดสีกันจนเป็นเสียงดังกว่าปกติ ดังนั้น การหมั่นตรวจเช็คสภาพเครื่องจักร และบำรุงซ่อมแซม เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เติมสารหล่อลื่น ขันน้อตชิ้นส่วนต่างๆ ที่อาจคลอนหลุดไม่แน่นให้สนิท ฯลฯ ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างปกติ และมีเสียงที่เบาลงได้
2. เครื่องจักรที่มีใบมีด อย่าลืมลับคมเด็ดขาด
โรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงไม้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ ที่มีเครื่องจักรติดใบมีด ใบเลื่อย สำหรับตัดไม้ ประกอบชิ้นงานนั้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องจักรเสียงดัง อาจมาจากการที่ใบเลื่อย หรือใบมีดของเครื่องจักร ใช้งานจนสึก ทื่อ ไม่แหลมคม จนทำให้เวลาเครื่องจักรทำงาน เกิดเป็นเสียงที่ดังมากกว่าปกติได้ ดังนั้น การหมั่นตรวจสอบใบมีดเครื่องจักร และลับให้คม หรือเปลี่ยนใบมีดให้คมอยู่เสมอนั้น ก็สามารถช่วยลดเสียงดังจากการทำงานให้เบางลงได้ทางหนึ่ง
3. พื้นที่วางเครื่องจักร มั่นคงดีมากน้อยแค่ไหน
เวลาเครื่องจักรทำงานนั้น จะมีแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างมาก ซึ่งหากเราติดตั้งหรือวางเครื่องจักรในพื้นที่ที่ไม่มั่นคง แรงสั่นสะเทือนก็จะทำให้เครื่องจักรทำงานแบบมีเสียงดังมากขึ้นได้ ดังนั้น ในขั้นตอนแรกสุดของการติดตั้งเครื่องจักร จึงควรตรวจสอบความมั่นคงของพื้นที่ให้เรียบร้อย ตลอดจนอาจใช้อุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือนกับฐานของเครื่องจักรด้วยก็ได้ อย่างเช่น แผ่นยาง เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนเวลาเครื่องจักรทำงาน ซึ่งก็จะช่วยทำให้เสียงดังลดน้อยลงไปได้
4. เลือกติดตั้งวัสดุอะคูสติก เพื่อแก้ไขปัญหาเสียง
ถือเป็นแนวทางในการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาแบบถาวร โดยสามารถทำได้ทั้งการเลือกติดตั้งแผ่นกันเสียงในบริเวณห้องเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสียงดังจากเครื่องจักร ทะลุผ่านออกไปรบกวนชุมชนภายนอกมากเกินไป ตลอดจนเลือกใช้แผ่นซับเสียง เพื่อดูดซับเสียงดัง เสียงก้อง เสียงสะท้อนให้ห้องเครื่องจักร เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรได้รับผลกระทบจากเสียงดังน้อยลง อันจะช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เครื่องจักรสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวเติบโตไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน ก็ถือเป็น “แหล่งต้นกำเนิดเสียงดัง” ที่หากผู้ประกอบการไม่ให้ความสำคัญในการจัดการควบคุมให้ดีแล้วล่ะก็ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบสภาพความพร้อมสมบูรณ์ของเครื่องจักรอยู่เสมอ ตลอดจนหาแนวทางในการป้องกันเสียงดัง แก้ไขปัญหาเสียงดังให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้โรงงานไม่สร้างปัญหาเสียงดังให้กับชุมชนหรือผู้ปฏิบัติงานจนกลายเป็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดนั้น ก็ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยตรง เพื่อให้สามารถแก้ไขออกมาได้อย่างตรงจุด คุ้มค่า คุ้มเวลามากที่สุด