เสียงดังจากผับที่อยู่ติดบ้านเป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน นอกจากจะรบกวนการพักผ่อนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตอีกด้วย บทความนี้จะแนะนำ 11 วิธีกันเสียงดังจากผับข้างบ้านที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้สร้างเกราะป้องกันเสียงดังคืนความสงบสุขให้กับการอยู่อาศัย
ทำความเข้าใจปัญหาการกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน
ก่อนที่จะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาเสียงรบกวน เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของเสียงและวิธีการแพร่กระจายของคลื่นเสียง เพราะจะช่วยให้เราเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น โดยประเภทของเสียงรบกวนจากผับนั้นมักจะมาในหลายรูปแบบ ทั้งเสียงดนตรี เสียงเบส เสียงพูดคุย และเสียงการเคลื่อนย้ายโต๊ะเก้าอี้ การกันเสียงดังจากผับข้างบ้านจึงต้องคำนึงถึงประเภทของเสียงที่รบกวนเป็นหลัก เพื่อเลือกวิธีการและวัสดุกันเสียงที่เหมาะสม
11 วิธีการกันเสียงดังจากผับข้างบ้านอย่างได้ผล
การแก้ไขปัญหาเสียงดังจากผับไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จากประสบการณ์ของผู้ที่เคยประสบปัญหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน เราได้รวบรวม 11 วิธีที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง โดยแต่ละวิธีมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ทุกคนสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกันก็ได้ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและงบประมาณที่วางเอาไว้
ทั้งนี้ ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าเสียงจากผับมักมาจากหลายทิศทาง ทั้งผ่านอากาศ (Airborne Sound) และผ่านโครงสร้างอาคาร (Structure-borne Sound) การแก้ไขจึงต้องครอบคลุมทุกช่องทางที่เสียงสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ เรามาดูแต่ละวิธีกันอย่างละเอียดกันได้เลย ดังต่อไปนี้
1. การติดตั้งผนังกันเสียงแบบซ้อนชั้น
การสร้างระบบผนังซ้อนชั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน เทคนิคนี้ใช้หลักการกั้นเสียงด้วยช่องว่างอากาศและวัสดุกันเสียงหลายชั้น โดยแนวทางในการติดตั้งผนังกันเสียงประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
• ติดตั้งโครงเคร่าโลหะบนผนังเดิม โดยให้เหลือช่องว่างไว้สำหรับเสริมวัสดุอะคูสติก
• วางแผนกันเสียงหรือแผ่นใยแก้วที่มีคุณภาพลงในช่องว่าง
• ปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่มกันเสียงชนิดพิเศษ
• เก็บงานอุดรอยต่อทาสีให้เรียบร้อย
การติดตั้งผนังกันเสียงแบบซ้อนชั้น หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการเบิ้ลผนังเดิมให้หนาขึ้นด้วยวัสดุอะคูศติกที่มีความสามารถในการกันเสียงดังทะลุเข้าออก ถือเป็นวิธีการกันเสียงดังทะลุเข้าออกผ่านผนังที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับแผ่นกันเสียงที่เลือกมาใช้งานด้วย ปัจจุบันตัวอย่างแผ่นกันเสียงที่ได้รับความนิยม เช่น แผ่นกันเสียง SCG รุ่น Cylence Zoundblock ซึ่งทำจากฉนวนใยแก้ว มีความสามารถในการกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้ดี และใช้งานได้กับระบบผนังที่หลากหลาย
แผ่นกันเสียง SCG รุ่น Cylence Zoundblock
ตัวช่วยกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน
2. การปรับปรุงหน้าต่างและประตู
หน้าต่างและประตูเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้ปัญหาเสียงรบกวนเข้ามารบกวนได้ง่าย การปรับปรุงส่วนนี้จึงสำคัญมากไม่แพ้การเสริมระบบผนังกันเสียงง โดยมีแนวทางในการปรับปรุง ดังต่อไปนี้
• ติดตั้งกระจกสองชั้นหรือสามชั้น
• เปลี่ยนซีลยางรอบวงกบให้แน่นสนิท
• ติดแถบยางกันเสียงตามรอยต่อ
• พิจารณาติดตั้งม่านกันเสียงเพิ่มเติม
• ควรใช้เป็นประตูกันเสียงหรือหน้าต่างกันเสียงที่เป็นบานพับแทนบานเลื่อน เพราะปิดได้แนบสนิทกว่า
3. การใช้แผ่นดูดซับเสียงตามจุดสำคัญ
แผ่นดูดซับเสียงเป็นวัสดุอะคูศติกที่มีประสิทธิภาพในการลดการสะท้อนของเสียงภายในห้อง ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อลดการก้องสะท้อนของเสียงดังให้น้อยลงมากที่สุด โดยจุดที่ควรติดตั้ง ได้แก่
• ผนังด้านที่ติดกับผับ
• เพดาน โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียง
• มุมห้องที่มักเกิดการสะท้อนของเสียง
แผ่นซับเสียง SCG รุ่น Cylence Zandera
ตัวช่วยกันเสียงก้องสะท้อน
4. การปรับปรุงฝ้าเพดาน
การติดตั้งผนังกันเสียงที่ฝ้าเพดานเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถใช้วัสดุอะคูสติกและแนวทางในการดำเนินการแบบการติดตั้งระบบผนังกันเสียงได้เลย โดยมีขั้นตอนการปรับปรุง ดังนี้
• ติดตั้งโครงเคร่าใหม่ต่ำกว่าฝ้าเดิม
• ใส่วัสดุดูดซับเสียงในช่องว่าง
• ปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่มกันเสียงพิเศษ
• เพิ่มชั้นวัสดุดูดซับเสียงตามความจำเป็น
5. การปรับปรุงพื้น
เสียงเบสจากผับมักส่งผ่านมาทางพื้น การกันเสียงดังจากผับข้างบ้านจึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพื้นด้วย ซึ่งมีวิธีการปรับปรุงพื้น ดังนี้
• ติดตั้งระบบลอยตัว (Floating Floor)
• ใช้แผ่นยางกันสะเทือน
• เพิ่มชั้นวัสดุดูดซับแรงสั่นสะเทือน
• ปูพรมหนาเพื่อช่วยดูดซับเสียง
6. การสร้างห้องซ้อนในห้อง
เทคนิค “Room within a Room” เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน ซึ่งสามารถกันเสียงสั่นสะเท้อนจากเบสได้เป็นอย่างดี โดยแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม มีขั้นตอนการสร้างคร่าว ๆ ดังนี้
• สร้างโครงสร้างใหม่แยกอิสระจากโครงสร้างเดิม
• ติดตั้งผนังกันเสียงแบบหลายชั้น
• ใช้วัสดุกันเสียงคุณภาพสูงในทุกด้าน
• ติดตั้งระบบระบายอากาศที่ไม่ทำให้เสียงรั่วไหล
7. การใช้ม่านกันเสียง
ม่านกันเสียงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนได้ โดยเฉพาะในห้องที่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ม่านทุกชนิดก็สามารถกันเสียงได้ แต่มีคุณภาพต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต คุณสมบัติของม่านกันเสียงที่ดี ได้แก่
• มีความหนาและน้ำหนักเหมาะสม
• ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียง
• มีชั้นกันเสียงภายใน
• ติดตั้งให้คลุมเลยขอบหน้าต่าง
8. การใช้แผงกั้นเสียงภายนอก
การกันเสียงดังจากผับข้างบ้านด้วยแผงกั้นเสียงภายนอกเป็นวิธีที่ช่วยลดเสียงก่อนถึงตัวบ้าน แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไร เพราะมีค่าใช้จ่ายและการดำเนินการค่อนข้างมาก ซึ่งหากต้องการทำให้ได้ผลดี จะมีข้อควรพิจารณาสำคัญ ๆ ที่ต้องใส่ใจ ดังต่อไปนี้
• ความสูงของแผงต้องเพียงพอ
• วัสดุต้องทนต่อสภาพอากาศ
• การติดตั้งต้องมั่นคงแข็งแรง
• ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
9. การปรับปรุงช่องระบายอากาศ
ช่องระบายอากาศมักเป็นเส้นทางที่เสียงแทรกเข้ามาได้ แต่ถูกมองข้ามไป การติดตั้งผนังกันเสียงจึงต้องใส่ใจจุดนี้เป็นพิเศษ หากอยากให้ได้ผลลัพธ์ในการกันเสียงที่ดีที่สุด ซึ่งมีวิธีการปรับปรุง ดังนี้
• ติดตั้งท่อเสียงแบบหักศอก
• ใช้วัสดุดูดซับเสียงภายในท่อ
• ติดตั้งตะแกรงกันเสียงพิเศษ
• ใช้พัดลมระบายอากาศแบบเงียบพิเศษ
10. การจัดวางเฟอร์นิเจอร์อย่างเหมาะสม
หลายคนอาจไม่ทราบว่าการจัดวางเฟอร์นิเจอร์สามารถช่วยลดผลกระทบจากเสียงได้ โดยเฉพาะในห้องที่ติดกับผับ บางทีเพียงแค่เราจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในบ้านหรือในห้องของเราใหม่ให้เหมาะสม ก็สามารถช่วยลดเสียงดังรบกวนจากภายนอกลงได้มากแล้ว ซึ่งมีแนวทางการจัดวางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
• วางตู้หนังสือหรือชั้นวางของขนาดใหญ่ติดผนังด้านที่ติดกับผับ
• จัดวางโซฟาและเตียงให้ห่างจากผนังที่มีเสียงรบกวน
• ใช้ชั้นวางของแบบทึบเป็นฉากกั้น
• เพิ่มพรมและเบาะนั่งเพื่อดูดซับเสียง
11. การบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบ
การจัดการพื้นที่โดยรอบบ้านสามารถช่วยลดผลกระทบจากเสียงดังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการจัดการง่าย ๆ ดังนี้
• ปลูกต้นไม้เป็นแนวกันเสียง
• สร้างกำแพงกันเสียงที่มีการออกแบบเหมาะสม
• จัดระเบียบพื้นที่จอดรถ
• ประสานงานกับเจ้าของผับเรื่องการควบคุมเสียง
เทคนิคเพิ่มเติมในการกันเสียงดังจากผับข้างบ้าน
การเลือกวัสดุที่เหมาะสม
การเลือกวัสดุกันเสียงที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาเสียงรบกวนที่สำคัญมาก เพราะถ้าอยากให้การวางแผนแก้ไขปัญหาเสียงดังออกมาได้ผลดี วัสดุกันเสียงที่เลือกใช้ก็ต้องมีคุณภาพดีพอด้วย ซึ่งเรามีแนวทางในการเลือกวัสดุที่เหมาะสมง่าย ๆ มาฝากกันดังนี้
1. ค่า STC (Sound Transmission Class)
2. ความหนาแน่นของวัสดุ
3. ความทนทานต่อการใช้งาน
4. ราคาและความคุ้มค่า
สรุป
การกันเสียงดังจากผับข้างบ้านที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกัน ควรเริ่มจากการประเมินสถานการณ์ วางแผนงบประมาณ และดำเนินการอย่างเป็นระบบ การติดตั้งผนังกันเสียงและเลือกใช้วัสดุกันเสียงที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณได้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำหรับใครก็ตามที่บ้านอยู่ใกล้ผับ และประสบปัญหาเสียงดังจากผับข้างบ้านรบกวนการใช้ชีวิตอยุ่อาศัย อยากหาทางแก้ไขที่ได้ผล สามารถปรึกษาทีมงาน Acoustic Expert ได้ฟรี ผ่านช่องทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมงานมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาเสียงดัง พร้อมให้คำแนะนำ นัดหมายสำรวจหน้างานจริง และให้บริการติดตั้งระบบผนังกันเสียงได้ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด