การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจทำ เพราะไม่เพียงแต่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเท่านั้น ยังต้องเสียเวลาในการดำเนินการอีกไม่น้อยด้วย ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการพิจารณาเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบแล้ว ก็ยังพบกรณีการแก้ไขปัญหาเสียงดังที่ล้มเหลวอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน ลดความเสี่ยงให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน จากนี้ไปคือ 3 สิ่งสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงาน ไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่ควรจะเป็น
1. การสำรวจหน้างานและการตรวจวัดระดับเสียงไม่มีประสิทธิภาพ
กระดุมเม็ดแรกที่สำคัญที่สุดเลยที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานจะมีโอกาสสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน คือ การเข้าสำรวจหน้างานจริง และการตรวจวัดระดับเสียง โดยความสำคัญของการสำรวจหน้างานคือทำให้ทราบว่าจุดใดบ้างที่เป็นทางผ่านของเสียงดัง และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากสำรวจไม่ดี ตรวจสอบไม่ถี่ถ้วน ก็จำนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเสียงดังที่ไม่ครอบคลุมทุกจุด และไม่สามารถกันเสียงดังได้ดีนั่นเอง
ในขณะที่การตรวจวัดระดับเสียง จะทำให้ทราบว่าเสียงที่ดังเป็นปัญหาอยู่นั้นดังมากน้อยแค่ไหน เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไปมากเท่าไร เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการวางแผนการแก้ไขได้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถลดระดับความดังของเสียงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ได้ ซึ่งหากไม่ได้ใช้เครื่องวัดระดับเสียงที่มีคุณภาพมากพอแล้ว ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลตัวเลขที่คลาดเคลื่อน อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานที่ล้มเหลวได้ในที่สุด
เครื่องวัดระดับเสียง Omni Directional Power Amplifier
2. วิศวกรผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานไม่มีประสบการณ์มากพอ
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานไม่ประสบความสำเร็จ คือวิศวกรที่ดำเนินการดูแลโปรเจคลดเสียงดัง โดยต่อให้เครื่องมือตรวจวัดระดับเสียงมีคุณภาพมากแค่ไหน แต่ถ้าวิศวกรหรือช่างผู้ดูแลไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ก็จะไม่สามารถใช้งานตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรอบคอบครบถ้วน ซึ่งเมื่อนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหา ก็จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้งในเรื่องของการเลือกวัสดุกันเสียง หากคำนวณระดับความดังของเสียงผิดพลาด ไม่เข้าใจโครงสร้างพื้นที่อย่างชัดเจนแล้ว ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเลือกใช้งานวัสดุกันเสียงที่มีความสามารถไม่พอจะลดระดับเสียงลงได้ ทำให้เมื่อติดตั้งระบบกันเสียงในโรงงานไปแล้ว ก็ยังคงมีเสียงดังรบกวนอยู่ในระดับที่เป็นปัญหาอยู่
3. วัสดุอะคูสติกที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเสียงดังไม่มีคุณภาพ
วัสดุอะคูสติกที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาเสียงดังในท้องตลาดนั้นมีหลากหลายมาก ซึ่งแน่นอนว่าราคากแตกต่างกันไปด้วย โดยสิ่งที่ทำให้ราคาของวัสดุกันเสียงแต่ละแบรนด์แตกต่างกันคือ คุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถในการกันเสียงและความแข็งแรงทนทาน ดังนั้น หากเลือกใช้วัสดุกันเสียงที่ราคาย่อมเยาเป็นหลัก แต่ไม่ได้มีคุณภาพมากพอ ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการกันเสียงที่ล้มเหลวไม่เป็นท่าได้ง่าย ๆ และแน่นอนว่าราคาของการแก้ไขใหม่นั้นอาจสูงกว่ามาก ๆ
ในปัจจุบัน วัสดุอะคูสติกที่ได้รับความนิยมใช้ในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำห้องกันเสียงครอบเครื่องจักร หรือเสริมระบบผนังกันเสียงในพื้นที่นั้น ได้แก่ แผ่นกันเสียง SCG รุ่น Cylence Zoundblock ที่เป็นฉนวนกันเสียงซึ่งทำมาจา3กใยแก้ว มีความปลอดภัยสูง มีความสามารถในการกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้อย่างดี และยังมีความแข็งแกร่งทนทาน คงสภาพความเป็นฉนวนได้ยาวนานเป็น 10 ปี และที่สำคัญคือมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ซึ่งตอบโจทย์มาก ๆ ในเรื่องการเสริมความปลอดภัยให้กับโรงงาน
แผ่นกันเสียง SCG รุ่น Cylence Zoundblock
ตัวช่วยให้การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานสำเร็จได้ตามเป้า
การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นที่น่าพอใจ ลดระดับเสียงดังที่เป็นปัญหาลงมาได้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดนั้น ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลัก ๆ 3 ส่วนด้วยกันคือ การสำรวจหน้างานตรวจวัดระดับเสียงที่มีคุณภาพ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นวิศวกรด้านการแก้ไขปัญหาเสียงที่มีประสบการณ์โดยตรง โดยใช้วัสดุกันเสียงที่มีความสามารถในการกันเสียงได้เป็นอย่างดี หาก 3 องค์ประกอบนี้อยู่ครบ ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม
ผู้ประกอบการท่านใดกำลังประสบปัญหาโรงงานเสียงดัง ถูกร้องเรียนจากชุมชน ถูกตรวจสอบแล้วพบว่าเสียงดังเกินมาตรฐานกฎหมาย และอยากเร่งรีบแก้ไข สามารถติดต่อขอคำปรึกษากับทีมงาน Acoustic Expert ได้ฟรีผ่านช่องทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมงานมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงาน พร้อมนัดหมายสำรวจหน้างานจริงและออกแบบแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานให้ครบวงจรแบบ One Stop Service ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด