4 เหตุผลทำชีวิตการงานพัง
ที่มีเหตุมากจากเสียงดัง
เพราะเราไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง
เสียงแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ที่เราต้องให้ความสำคัญ
โรงงานอุตสาหกรรมเสียงดังส่งผลให้เสียพาชีวิตพังอย่างไรบ้าง?
ปัจจุบันธุรกิจภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยนับวันเราจะยิ่งพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมมากมายเกิดขึ้นในทั่วพื้นที่ต่างๆ ของแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย ทั้งนี้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า กิจกรรมภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มักก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง ที่ก็นำมาซึ่งข้อร้องเรียนของชุมชนใกล้เคียงอยู่เสมอ ตามที่เห็นเป็นข่าวกันทางโทรทัศน์หรือหน้าหนังสือพิมพ์
ในฝั่งของผู้ประกอบการเอง ก็ยังจะได้รับผลเสียในแง่ที่ผลกระทบของมลภาวะทางเสียงนั้นไปมีผลต่อบุคคลากรภายในองค์กรด้วย ซึ่งเพื่อให้เราเกิดความตระหนักในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมเสียงมากขึ้น เราจึงจะพาไปดูกันให้ชัดเจนว่า “มลภาวะทางเสียงนั้นก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรต่อร่างกายและจิตใจคนเราได้บ้าง” โดยสามารถสรุปได้ออกเป็น 4 ข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1. เสียงดัง ก่อให้เกิดความหงุดหงิด ความไม่สบายใจ
ในระดับที่เบาที่สุด เสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมจะทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญ และพัฒนาต่อกลายเป็นความหงุดหงิด ความไม่สบายใจ ยิ่งหากผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงมีความจำเป็นจะต้องใช้สมาธิในการทำกิจกรรมของตัวเองด้วยแล้ว เสียงดังรบกวนจะทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ ซึ่งถ้าปล่อยไว้เป็นเวลานานๆ ก็จะยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้
2. เสียงดังทำให้มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร
ในกิจวัตรประจำวันที่เราต้องมีการสื่อสารกัน ชุมชน หรือออฟฟิสบ้านเรือน เสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมจะทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารนั้นมีน้อยลง คือ พูดกันไม่ได้ยิน ได้ยินคลาดเคลื่อน จนอาจนำไปสู่การเข้าใจผิดและส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตได้
3. เสียงดัง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ควบคุมระดับของเสียง และไม่ควบคุมระยะเวลาในการทำงาน จะส่งผลทำให้ชุมชนใกล้เคียงมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ที่ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการอดนอนไม่เพียงแต่จะทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบเท่านั้น แต่สภาพจิตใจก็จะย่ำแย่ตามไปด้วย และจะส่งผลต่อการทำงาน การใช้ชีวิตในทุกๆ มิติ รวมถึงเป็นบ่อเกิดของปัญหาสุขภาพหลายๆ โรค อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพราะ ไมเกรน เป็นต้น
4. เสียงดังทำให้เกิดปัญหากับระบบการได้ยิน
ระดับเสียงที่ดังจนเกินมาตรฐานมากๆ หรืออาจจะไม่ได้ดังเกินมาตรฐานมาก แต่ได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะส่งผลทำให้ความสามารถในการได้ยินของคนเราเสียหาย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบชั่วคราว หรือร้ายแรงไปจึงถึงขั้นถาวร คือกลายเป็นคนหูหนวก หูบอด ที่สูญเสียความสามารถในการได้ยินไป อันนำไปสู่ความยากลำบากและปัญหาอื่นๆ ในการดำเนินชีวิต
ตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดเอาไว้ว่า ระดับความเสียงที่ถือว่าส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อคนเรานั้นอยู่ที่ 85 เดซิเบลขึ้นไปนั้น แท้จริงแล้ว ร่างกายคนเราตอบสนองต่อเสียงตั้งแต่เสียงที่มีระดับต่ำกว่านั้นก็ได้ ซึ่งเราจะเรียกเสียงนั้นว่า “เสียงรบกวน”
หมายถึงว่า สำหรับบางคนแล้ว หากอยู่ในสภาพแวดล้อมปกติ บางทีเพียงแค่เสียงดังที่ระดับ 60 เดซิเบล ที่เข้าไปขัดสมาธิ ก็สามารถเป็นเสียงรบกวนที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจ อันนำไปสู่ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้แล้ว ดังนั้น เรื่องของการควบคุมมลภาวะทางเสียง จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่ใช่แค่เพียงต้องคำนึงถึงว่า “ต้องเป็นเสียงที่ไม่ดังเกินกำหนดเท่านั้น” แต่ยังต้องใส่ใจถึงความเหมาะสมของเสียงต่อแหล่งชุมชนใกล้เคียงด้วย
สุดท้ายนี้ สำหรับคำแนะนำที่ผู้ประกอบการ ผู้มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นของตัวเองควรให้ความสำคัญ ก็คือ การดูแลจัดการควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงภายในโรงงานของตนเอง ให้ไม่ส่งเสียงดังรบกวนต่อชุมชนใกล้เคียง และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียงที่เป็นอันตรายต่อบุคลากรในโรงงานของตัวเอง
สามารถทำได้ด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Cylence Expert ในเรื่องของการควบคุมเสียง ให้เข้ามาดูแลเกี่ยวกับการใช้วัสดุกั้นเสียง หรือวัสดุดูดซับเสียงเพื่อรักษาระดับของแหล่งกำเนิดเสียงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นมิตรกับทั้งคนในและคนนอก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนตั้งโรงงานอุตสาหกรรม คือมีการวางแผนวางผังของโรงงานที่อยู่ภายใต้การจัดการดูแลกำกับควบคุมมลภาวะทางเสียงตั้งแต่ต้น