ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจนั้นเติบโตขึ้นมาก ทำให้มีบริษัทน้อยใหญ่เกิดขึ้นมากตามไปด้วย แต่ด้วยพื้นที่ของอาคารออฟฟิศสำนักงานเช่าในเมืองที่ราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลายๆ บริษัทให้พื้นที่แบ่งเป็นห้องติดๆ กันเยอะสำหรับการแยกฝ่ายแยกแผนกกันทำงาน ทำให้หลายครั้งปัญหาเสียงทะลุถึงกันนำมาซึ่งการทำงานที่ไม่มีความสุข เพราะบางห้องต้องการความเงียบ แต่เมื่อไปอยู่ติดกับห้องที่ทีมงานมีลักษณะการทำงานที่ต้องเบรนสตรอมไอเดีย ต้องใช้เสียงดัง หรือไปติดอยู่กับห้องประชุม ก็ยิ่งแล้วใหญ่
ดังนั้น วันนี้ SCG เราจะพาไปดูตัวอย่างการแก้ไขปัญหาเสียงห้องทะลุถึงกันของออฟฟิศๆ หนึ่งใจกลางกรุงกันครับว่า จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง เพื่อคืนความสุขให้กับการทำงาน เป็น Happy Work Place ได้แบบที่พนักงานทุกคนอยากได้ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนของการแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้
1. สำรวจห้องแต่ละห้อง หาสาเหตุเสียงดังที่ทะลุจากห้องสู่ห้อง
เริ่มต้นขั้นตอนแรกของการแก้ไขปัญหาห้องทำงานเสียงทะลุถึงกัน ด้วยการนำทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง เข้าลงพื้นที่สำรวจห้อง ตั้งแต่ในเรื่องของรูปแบบการวางผังห้อง การใช้วัสดุกันเสียง ของผนัง ฝ้า และพื้น ตลอดไปจนถึงสำรวจรอยต่อ หรือ รูต่างๆ อาทิ รูปลั๊ก ช่องประตู หน้าต่าง เพราะรอยต่อเหล่านี้สามารถทำให้เสียงเล็ดลอดทะลุถึงกันได้แม้จะมีการใช้วัสดุกั้นเสียงระหว่างห้องถึงห้องแล้วก็ตาม
2. วัดระดับค่า NC หาระดับเสียงที่เหมาะสมเพื่อเป็นมาตรฐาน
โดยปกติแล้วค่าความเงียบ หรือ ค่า NC ที่หมายถึงระดับเสียงภายในห้องที่เหมาะสมนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กร หรือสถานประกอบการทุกแห่งควรใส่ใจ เพราะระดับเสียงที่ดังเกินไปในแต่ละห้อง จะทำให้การทำกิจกรรมในพื้นที่นั้นๆ เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นและไม่มีความสุข ซึ่งระดับค่า NC ที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานทั่วไป จะอยู่ที่ 35-45 และห้องทำงานผู้บริหารจะอยู่ที่ 30-40 ซึ่งเมื่อทางทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG ทำการวัดแล้วพบว่า แต่ละห้องยังมีระดับเสียงที่เกินมาตรฐานความเหมาะสมอยู่ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 49 ซึ่งจำเป็นจะต้องแก้ไขด้วยการใช้วัสดุกั้นเสียงเข้ามาช่วย
3. ลงมือแก้ไขปัญหา จัดการผนัง ฝ้า และสาเหตุของปัญหาเสียงทะลุ
หลังจากทราบแล้วว่าเสียงในแต่ละห้องนั้นเกินระดับค่ามาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับห้องทำงานทั่วไป รวมถึงทราบสาเหตุของแต่ละห้องแล้วว่าเกิดจากส่วนไหน ทางทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG จึงดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยหลายวิธีตามแต่ละสาเหตุ อันได้แก่ เลือกใช้ผนังกันเสียง Cylence Zoundblock ซึ่งเป็นฉนวนแบบแผ่นแข็ง หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้นใส่สารไม่อุ้มน้ำในเนื้อฉนวน สำหรับกันเสียงระหว่างผนัง ร่วมกับการอุดปิดช่องปลั๊กไฟเดิมบางห้อง และย้ายไปติดตั้งตำแหน่งอื่น โดยเสริมผนังเบาเพิ่มขึ้นอีกชั้น และใช้วัสดุกันเสียงร่วมด้วย เพื่อให้การกันเสียงทะลุผ่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ประเมินผลปิดท้าย ว่าเสียงหายทะลุถึงกันหรือไม่
หลังเสร็จสิ้นการติดตั้งผนังกั้นเสียงและกระบวนการกันเสียงทะลุผ่านทั้งหมดแล้ว ทางทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG จึงทำการตรวจสอบความเรียบร้อย และวัดค่าเสียงอีกครั้ง ซึ่งผลปรากฏว่าระดับเสียงภายในห้องลดลงมาอยู่ที่ NC30 ซึ่งเป็นค่าเหมาะสมสำหรับห้องทำงาน ที่สามารถทำให้แม้ห้องจะติดกัน ก็สามารถทำงานได้อย่างไม่ถูกเสียงรบกวนที่ทะลุถึงกัน
การเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาเสียงห้องทะลุถึงกันในออฟฟิศใจกลางกรุงครั้งนี้ ทำให้พนักงานในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องหงุดหงิดรำคาญใจกับเสียงทะลุจากห้องอื่นๆ ที่ดังรบกวนถึงกัน ซึ่งทำให้การมาทำงานทุกวันนั้น มีความสุขมากขึ้น เปลี่ยนจากออฟฟิศธรรมดาๆ ที่น่าเบื่อ น่าหงุดหงิด กลายเป็นออฟฟิศที่ Happy Work Place และมีกำลังใจมากขึ้นเป็นพิเศษในการทำงาน ซึ่งงบประมาณสำหรับการแก้ไขปัญหาเสียงในครั้งนี้ อยู่ที่เพียง 500,000 บาท ซึ่งคุ้มค่ามากกว่าการยกเลิกสัญญาค่าเช่าที่เพื่อเปลี่ยนออฟฟิศใหม่หลายเท่า
“ปัญหาเสียงทะลุห้องรบกวนการทำงานในออฟฟิศ ถือเป็นปัญหาชีวิตการทำงานที่ต้องรีบแก้ไข เพราะมีส่วนทำให้พนักงานหมดไฟ และหมดใจทุ่มเททำงาน”
สนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเสียง สามารถติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกของเราได้ที่ คุณณัฐคม สุวรรณกุล 085-488-2527