เสียงดังในโรงงาน

มาตรฐานการดูแลลูกจ้างในสถานที่ทำงานที่เสียงดัง

ระดับเสียงแค่ไหนถึงถูกต้อง? ระยะเวลายาวนานแค่ไหน ถึงเหมาะสมกับการทำงานในแหล่งกำเนิดเสียงดัง? สิ่งเหล่านี้มีข้อกฎหมายกำหนดเพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมควบคุมและกำกับดูแลให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหากไม่ทำ ไม่เพียงแต่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพของบุคลากรในโรงงานด้วย

แน่นอนว่าโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมประเภทไหน ล้วนต้องมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดเสียงดังด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งผลกระทบของระดับเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายและจิตใจของคนเราเสื่อมโทรมลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคลากรหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในจุดต้นกำเนิดเสียง

ด้วยเหตุนี้เอง กรมแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่างๆ เอาไว้ เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้าง โดยมีสาระสำคัญที่เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายต้องทราบ ดังต่อไปนี้

  1. ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องได้รับการควบคุมไม่ให้เกิน 91 เดซิเบล
  2. ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล
  3. หากลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ 8 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ระดับเสียงในจุดกำเนิดเสียงต้องได้รับการควบคุมให้ไม่เกิน 80 เดซิเบล
  4. ห้ามลูกจ้างทำงานภายในบริเวณจุดกำเนิดเสียงที่มีระดับความดังของเสียง เกิน 140 เดซิเบลเด็ดขาด โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดการ กำกับ และดูแลควบคุมระดับของเสียงให้ได้ตามข้อกำหนด ถึงจะสามารถให้ลูกจ้างทำงานได้

แจ้งโรงงานเสียงดัง

ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดของกรมแรงงานในเรื่องของการควบคุมเสียงภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีส่วนสัมพันธ์กันระหว่างระดับของเสียง กับ ระยะเวลาในการได้รับเสียงต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลก็มาจากการที่ยิ่งคนเราได้รับเสียงที่เกินมาตรฐานนานเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงเท่านั้น

โดยมาตรฐานของระดับเสียงที่จัดว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายตามองค์การอนามัยโลกกำหนดนั้นอยู่ที่ ตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งหากร่างกายได้รับมากกว่านั้น ก็ยังสามารถทำงานอยู่ได้ แต่ไม่ควรได้รับยาวนานต่อเนื่อง เพื่อจะส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจแบบสะสมและรุนแรงได้

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการได้รับเสียงที่เกินระดับมาตรฐานนั้น มีตั้งแต่เบาอย่างเวียนหัว มึนงง ความเครียดสะสม ไปจนถึงสูญเสียการได้ยิน ซึ่งผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องรับผิดชอบดูแลในส่วนนี้ ด้วยการควบคุมความดังของเสียง ผ่านการใช้แผ่นซับเสียง หรือแนวทางอื่นๆ ที่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ เพื่อให้บุคลากรภายในโรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

บทความที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า