Search
Close this search box.
music room

อยากทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน ต้องจัดการปัญหาเสียงอย่างไรบ้าง

ใครก็ตามที่ชอบเล่นดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ หรือมีลูกหลานชอบเล่นดนตรี ต่างก็รู้ดีว่าการจะทำให้ความสามารถทางดนตรีพัฒนาขึ้นไปถึงจุดที่ฝันได้นั้น จำเป็นต้องซ้อมเป็นประจำ นั่นเองที่ทำให้การ “ทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน” เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่ปัญหาที่จะตามมาเมื่อมีห้องซ้อมดนตรีในบ้านก็คือปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนทะลุออกไปยังเพื่อนบ้าน

ด้วยเหตุนี้เอง หากคิดอยาก ทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน จริง ๆ ก็ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเสียงให้ดี เพื่อให้ได้ห้องซ้อมดนตรีที่มีประสิทธิภาพ และไม่สร้างความรบกวนให้กับผู้อื่น โดยมีแนวทางในการจัดการปัญหาเสียงสำหรับการทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน ดังต่อไปนี้

1.เสริมผนังกันเสียงให้ห้องที่อยากทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นห้องซ้อมกลอง กีตาร์ เปียโน หรือซ้อมแบบเป็นวงดนตรีเต็มอัตรา สิ่งสำคัญอันดับแรกทีต้องทำเพื่อป้องกันปัญหาเสียงดังทะลุออกไปรบกวนภายนอกก็คือการทำ “ผนังกันเสียง” โดยต้องเลือกใช้ระบบผนังกันเสียงที่มีคุณภาพ มีค่า STC หรือ ค่าการต้านทานเสียงดังที่สูงเข้าไว้ เพราะยิ่งระบบผนังกันเสียงมีค่า STC สูงมากเท่าไร ก็ยิ่งกันเสียงดังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น ผนังกันเสียง SCG ที่ใช้วัสดุอะคูสติก Cylence Zoundblock ซึ่งทำมาจากฉนวนใยแก้ว มีโพรงอากาศจำนวนมากที่คอยกักเก็บเสียงไว้ไม่ให้ทะลุผ่านได้ง่าย รูปแบบการติดตั้งเป็นการวางโครงคร่าวผนังเบาขึ้นมาทับผนังเดิมอีกชั้น แล้วเสริมแผ่นกันเสียงไปตรงกลาง ก่อนปิดผิวผนังด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ดหรือว่ายิปซั่ม จึงทำให้ผนังหนาขึ้นลันเสียงดังทะลุเข้าออกได้ดีมากยิ่งขึ้น

แผ่นกันเสียง

2.เปลี่ยนหน้าต่างในห้องที่อยากทำเป็นห้องซ้อมดนตรีให้เป็นหน้าต่างกันเสียง

นอกจากเสียงซ้อมดนตรีจะทะลุออกไปภายนอกผ่านทางผนังได้แล้ว หน้าต่างก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เสียงดังจะทะลุเล็ดลอดออไปได้ ซึ่งยิ่งหน้าต่างบานใหญ่มากเท่าไร ก็มีโอกาสที่เสียงดังจะทะลุออกไปได้มากเท่านั้น ดังนั้น การทำหน้าต่างเก็บเสียงจึงสำคัญ โดยควรเน้นเลือกหน้าต่างที่เป็นแบบบานพับแทนบานเลื่อน เพราะปิดได้สนิทแน่นอนไร้ช่องทางให้เสียงเล็ดลอดได้ง่ายมากกว่า และควรเลือกหน้าต่างที่ตัวบานทำจากวัสดุที่สามารถกันเสียงดังได้ดี ไม่บางจนเกินไป

ยกตัวอย่างเช่น หน้าต่างกันเสียง SCG ที่ตัวบานหนาต่างทำจากกระจกลามิเนตหนา 10 มม. 2 ชั้น ตรงกลางติดฟิล์มหนา 0.76 มม. รวมแล้วจึงหนาถึง 20,76 มม. และเป็นระบบล็อกแบบบานพับที่ทำให้ปิดสนิทไม่มีช่องขอบหน้าต่างให้เสียงเล็ดลอดผ่านได้ง่าย ๆ จึงช่วยกันเสียงดนตรีจากการซ้อมภายในห้องไม่ให้ออกไปข้างนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดผนังกันเสียงแล้วไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร6

3.ประตูห้องซ้อมดนตรีในบ้านก็ควรเปลี่ยนเป็นประตูกันเสียง

ใครเคยไปเช่าห้องซ้อมดนตรีจะรู้เลยว่าประตูห้องซ้อมนั้นไม่เหมือนกับประตูปกติทั่วไป คือทั้งหนัก ทั้งหนา และปิดได้สนิทมาก ซึ่งก็เพื่อประสิทธิภาพในการกันเสียงดังทะลุเข้าออกนั่นเอง เช่นกันหากเราอยากทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนประตูเดิมให้กลายเป็นประตูกันเสียงด้วย

ตัวอย่างประตูกันเสียงที่แนะนำ ก็เช่น ประตูกันเสียง SCG ซึ่งข้อดีคือไม่จำเป็นต้องรื้อประตูบานเก่าออกก็ได้ แต่ติดทับไปเลยอีกบานหนึ่ง โดยจะใช้กระจกลามิเนตหนา 10 มม. 2 ชั้นทำเป็นตัวบานประตูเช่นกัน และใช้ระบบล็อกปิดแบบ 3 ตำแหน่งตลอดแนวขอบประตู จึงทำให้สามารถปิดได้สนิทแน่นอน กันเสียงดังได้อย่างมีคุณภาพ

ตอบทุกคำถามยอดฮิต เพื่อคนอยากติดหน้าต่างกันเสียง3

4.นอกจากทำกันเสียงดังแล้วอย่าลืมทำกันเสียงก้องสะท้อนด้วย

ในการทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน เพื่อไม่ให้เสียงดังออกไปรบกวนเพื่อนบ้าน และเพื่อไม่ให้เสียงดังจากข้างนอกทะลุเข้ามารบกวนภายในห้องซ้อม การทำกันเสียงที่ผนัง ประตู หน้าต่าง ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ยังมีอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การติดตั้ง “แผ่นซับเสียง” สำหรับควบคุมเสียงก้องสะท้อนภายในห้องซ้อมด้วย เพื่อให้การซ้อมนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ยินเสียงการซ้อมได้อย่างไพเราะชัดเจน ไม่สับสนและหงุดหงิดจากเสียงก้องสะท้อนภายในห้อง

ตัวอย่างแผนซับเสียงที่แนะนำ ก็เช่น แผ่นซับเสียง SCG รุ่น Cylence Zandera ซึ่งเป็นแผ่นซับเสียงที่ทำมาจากวัสดุฉนวนใยแก้ว หุ้มด้วยผ้าหลากสีสันเป็นผนังตกแต่งในตัว มีความสามารถในการซับเสียงสูง และมีความแข็งแรง มีลวดลายให้เลือหลากหลาย ติดตั้งง่าย เพียงติดทับไปบนผนังเดิมได้เลย ซึ่งเราควรติดตั้งหลังจากทำผนังกันเสียงเรียบร้อยแล้ว

ระบบเสียงห้องประชุมไร้ปัญหา ถ้าพิจารณา 3 เรื่องนี้ให้ดี

อยากทำห้องซ้อมดนตรีในบ้าน ไม่ใช่ความฝันที่เป็นไปไม่ได้ แต่ใครก็สามารถทำได้จริง โดยที่ไม่สร้างเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านด้วย เพียงแค่เข้าใจว่าจะต้องติดตั้งวัสดุกันเสียงบริเวณจุดสำคัญใดบ้างในห้อง รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันเสียง อาทิ ผนังกันเสียง ประตูกันเสียง หน้าต่างกันเสียง ที่มีคุณภาพ เพียงเท่านี้ก็จบปัญหาเสียงดังทะลุเข้าเข้าออกได้แล้ว 

นอกจากนั้น เพื่อให้ห้องซ้อมดนตรีใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ควรให้ความสำคัญกับการติดแผ่นซับเสียง เพื่อควบคุมเสียงก้องสะท้อนด้วย เพื่อให้การซ้อมดนตรีในห้องซ้อมของเราเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด สามารถติดตามเสียงดนตรีที่เราเล่นได้ว่า เพี้ยน หรือต้องปรับต้องแก้ไขตรงไหน โดยไม่ถูกเสียงก้องสะท้อนรบกวนให้เกิดความสับสน

สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนห้องธรรมดา ๆ ในบ้าน หรือในห้องคอนโดให้กลายเป็นห้องซ้อมดนตรีที่เก็บเสียงดัง ไม่มีเสียงก้องสะท้อนล่ะก็ สามารถปรึกษาสอบถามทีมงาน Acoustic Expert ได้ฟรี ผ่านช่องทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมงานมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงพร้อมให้ข้อมูลคำแนะนำ นัดหมายลงพื้นที่สำรวจหน้างานจริง และออกแบบติดตั้งแก้ไขปัญหาเสียงทุกรูปแบบให้ได้ทั่วประเทศ

READ  มาตรฐานการดูแลลูกจ้างในสถานที่ทำงานที่เสียงดัง
บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ท่านสามารถขอยกเลิกความยินยอม ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลที่ Acoustic Expert เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ โดยที่ระบุไว้ใน นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อที่ data.privacy@scg.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า