โรงเรียนสอนดนตรี คือหนึ่งในธุรกิจที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย ก็ยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคง ยิ่งปัจจุบันธุรกิจบันเทิงกำลังเฟื่องฟู การเปิดสอนดนตรีด้วยการดัดแปลงอาคารพาณิชย์ตึกแถวที่มีให้เป็นโรงเรียนก็สามารถเริ่มต้นทำได้ไม่ยาก
แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีคำถามที่หลายคนยังคงลังเลอยู่ว่าจำเป็นไปไหมที่จะต้องติด “แผ่นกันเสียง” เพราะโรงเรียนไม่ได้เหมือนกับห้องซ้อมดนตรีที่จะต้องเล่นเพลงเต็มรูปแบบต่อเนื่องตลอดเวลา ในบทความนี้เราจะพาไปหาคำตอบเพื่อให้คลายข้อสงสัยกัน
โรงเรียนสอนดนตรีไม่ติดแผ่นกันเสียง เสี่ยงถูกร้องเรียนได้แน่นอน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แผ่นกันเสียงคืออะไร ถึงจะตอบได้อย่างชัดเจนว่าควรจะติดแผ่นกันเสียงหรือไม่ โดยแผ่นกันเสียง คือ วัสดุอะคูสติกที่มีความสามารถในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออก กล่าวคือ เสียงจากภายในก็จะดังทะลุออกไปภายนอกยาก ในขณะที่เสียงดังจากข้างนอกก็จะทะลุเข้ามายังภายในห้องได้ยากเช่นกัน ดังนั้น การที่โรงเรียนสอนดนตรีติดแผ่นกันเสียง จึงถือเป็นเรื่องสมควรเพราะช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดนตรีภายในห้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ถูกเสียงดังจากภายนอกรบกวนขณะทำการเรียนการสอน
ในขณะเดียวกัน เสียงดนตรีจากภายในห้องก็จะไม่ดังออกไปรบกวนภายนอกด้วย ถึงแม้เสียงดนตรีจากโรงเรียนสอนดนตรีจะไม่ได้ดังต่อเนื่องเหมือนกับห้องซ้อมดนตรี แต่เมื่อเปิดเป็นกิจการเป็นธุรกิจ ก็ถือว่ามีหน้าที่ที่จะต้องควบคุมเสียงดังไม่ให้ดังออกไปรบกวนภายนอกตามกฎหมาย
ยิ่งถ้าเป็นตึกแถว เป็นอาคารพาณิชย์ที่มีโครงสร้างผนังติดกับอาคารหลังอื่น ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งจำเป็นจะต้องติดแผ่นกันเสียงเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังออกไปรบกวนผู้อื่นแล้วเป็นเหตุให้ถูกร้องเรียนฟ้องร้องได้ โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์แผ่นกันเสียงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็เช่น วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zoundblock ซึ่งเป็นแผ่นกันเสียงที่ผลิตมาจากฉนวนใยแก้ว มีความสามารถในการป้องกันเสียงดังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการจะสอนดนตรีให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้แค่จะต้องป้องกันไม่ให้เสียงจากภายนอกดังทะลุเข้ามารบกวนภายในห้องเรียน หรือป้องกันไม่ให้เสียงจากภายในดังทะลุออกไปนอกห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังต้องควบคุมเสียงในห้องสอนดนตรีไม่ให้ก้องสะท้อนอีกด้วย
เพราะหากห้องเรียนดนตรีมีเสียงก้องสะท้อนมาก ๆ ก็จะทำให้การเรียนดนตรีมีปัญหาได้ ทำให้เสียงดนตรีที่เล่นออกมาไม่มีประสิทธิภาพ คาดเดาไม่ได้ว่าถูกหรือผิด หรือต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จึงทำให้ผู้ประกอบการที่คิดจะเปิดโรงเรียนสอนดนตรีต้องควบคุมคุณภาพเสียงภายในห้องเรียนให้เหมาะสม ต้องวางแผนแก้ไขปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน
ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ “แผ่นซับเสียง” ซึ่งเป็นวัสดุอะคูสติกอีกชนิดหนึ่งคนละชนิดกับ “แผ่นกันเสียง” โดยแผ่นซับเสียง จะมีความสามารถในการป้องกันเสียงก้องเสียงสะท้อน และเป็นผนังตกแต่งในตัว ปัจจุบันที่นิยมใช้กันตลาดก็เช่น วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zandera ซึ่งทำมาจากฉนวนใยแก้วเช่นกัน มีความสามารถในการซับเสียงสูง มีสีสันและลวดลายให้เลือกหลากหลาย เลือกให้เข้ากับดีไซน์การตกแต่งของพื้นที่ได้อย่างสวยลงตัว
เนื่องจากโรงเรียนสอนดนตรี คือธุรกิจที่มีกิจกรรมหลักเป็นเรื่องของการใช้เสียง และจะต้องประเมินคุณภาพเสียงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่โรงเรียนสอนดนตรีควรจะต้องติดตั้งแผ่นกันเสียง เพื่อสร้างระบบผนังกันเสียงให้สามารถป้องกันเสียงดังเข้าออกได้ดี รวมไปถึงยังต้องติดตั้งแผ่นซับเสียงเพื่อลดเสียงก้องเสียงสะท้อนให้ได้ดีที่สุดด้วย ซึ่งแม้จะดูเหมือนเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ
เพราะหากลูกค้าที่เป็นนักเรียนเข้ามาใช้บริการแล้วพบว่ามีเสียงรถ เสียงจากชุมชนดังเข้ามากวน ซ้อมดนตรีแล้วเสียงก้อง ก็คงไม่มีทางที่จะไว้ใจเป็นลูกค้าของโรงเรียนแน่นอน และส่งผลให้ธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีของเราเสี่ยงที่จะล้มเหลวไม่เป็นท่านั่นเอง