ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการวางแผนติดตั้ง “แผ่นกันเสียง” ภายในโรงงาน เนื่องจากพื้นที่โรงงานค่อนข้างมีขนาดใหญ่ ทำให้การติดแผ่นกันเสียงให้ได้ประสิทธิภาพนั้นอาจต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงพยายามเลื่อน ผัด หรือหลีกเลี่ยงไปก่อน
แต่ทั้งนี้ หากโรงงานมีเครื่องจักร หรือขั้นตอนในการทำงานที่ส่งเสียงดังรบกวนทั้งภายในโรงงาน หรือเสียงดังทะลุออกมาภายนอกชุมชนล่ะก็ ถือเป็นความเสี่ยงที่ควรรีบแก้ไข เพราะอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจได้ในหลาย ๆ มิติ ดังต่อไปนี้
1.ถูกร้องเรียนจากชุมชนเรื่องปัญหาเสียงดัง
นี่คือปัญหาที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการแก้ไขมากที่สุด เพราะเสียงดังจากโรงงานหากไม่ได้รับการควบคุมแก้ไข สุดท้ายจะดังส่งออกไปสร้างความรบกวนในชุมชนจนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้โรงงานกลายเป็นศัตรูของชุมชนได้ อาจเกิดมีการร้องเรียน เป็นปากเสียงกันในชุมชน
ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของโรงงานเสียหาย และหากมีเรื่องที่โรงงานต้องขอความร่วมมือกับทางชุมชน ก็จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน
2.อาจถูกฟ้องร้องจนถึงขั้นต้องปิดโรงงาน
สืบเนื่องจากการถูกร้องเรียนที่โรงงานสร้างปัญหาเสียงดังให้กับชุมชน ซึ่งในทางกฎหมายแล้ว ถือว่าโรงงานมีความผิด เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่เรื่องหน้าที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องแก้ไขปัญหาเสียง ควบคุมปัญหาเสียงดังโรงงานให้ดังไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งหากมีการร้องเรียนหน่วยงานที่ดูแลให้เข้ามาตรวจสอบแล้วพบว่า โรงงานไม่ได้ควบคุมเสียงดังให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ก็อาจถูกปรับ ถูกบังให้แก้ไข
ซึ่งหากทำล่าช้ากว่ากำหนด ก็อาจถึงขั้นถูกสั่งปิดโรงงานเป็นการชั่วคราวได้ และแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ ที่อาจผลิตสินค้าไม่ทันกำหนดลูกค้ากลายเป็นปัญหาลุกลามเสียหายใหญ่โตจนไม่อาจประเมินค่าได้
3.พนักงานเสี่ยงอันตราย ทำงานได้ไม่เต็มที่
โรงงานส่วนใหญ่ในพื้นที่โรงงานจะมีส่วนที่เป็นออฟฟิศ สำนักงานด้วยอยู่เสมอ ซึ่งก็จะมีเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดูแลส่วนงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานอยู่ด้วย ซึ่งหากไม่ได้มีการวางแผนติดตั้งแผ่นกันเสียง ที่ห้องออฟฟิศสำนักงาน หรือไม่ได้ใช้แผ่นกันเสียงควบคุมเสียงในห้องเครื่องจักรเอาไว้
สุดท้ายแล้ว พนักงานจะเสี่ยงอันตรายจะการอยู่ท่ามกลางเสียงดังเกินไปที่ดังอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาจมีปัญหาเสียงหู การได้ยิน วิงเวียนศีรษะ หรืออาจประสบอุบัติเหตุได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะรบกวนสมาธิในการทำงาน ทำให้อารมณ์ขุ่นมัว อันนำไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดได้ง่าย ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อการทำงานไม่มากก็น้อย
แนวทางในการติดตั้งแผ่นกันเสียง ในโรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดัง
แผ่นกันเสียง หรือ จะเรียกว่าผนังกันเสียงก็ได้ เป็นวัสดุอะคูสติกที่มีความสามารถในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออก ซึ่งแต่ละวัสดุของแผ่นกันเสียงก็จะมีความสามารถในการกันเสียงได้ต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zoundblock จะเป็นวัสดุอะคูสติกที่ทำมาจากฉนวนใยแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้สูง เนื่องจากมีรูโพรงอากาศจำนวนมากช่วยกักเก็บเสียงที่มากระทบเอาไว้ไม่ให้ทะลุขผ่านได้ง่าย
ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานนั้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ ใช้แผ่นกันเสียงเสริมเข้าไปกับผนังห้อง ฝ้าเพดาน โรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงจากภายในโรงงานดังทะลุออกไปรบกวนข้างนอก
หรือในอีกแนวทางหนึ่งก็คือ โฟกัสไปที่ห้องเครื่องจักรโดยตรง โดยอาจก่อผนังกันเสียง ทำห้องกันเสียงขึ้นมาครอบห้องเครื่องจักรเอาไว้ เพื่อเก็บเสียงเครื่องจักรเอาไว้ภายในห้องที่สร้างขึ้นมาใหม่ไม่ให้ดังทะลุออกไปรบกวนภายนอกโรงงาน เป็นต้น
ไม่มีใครทนเสียงดังจากเครื่องจักร เสียงการทำงานของเครื่องจักรได้ต่อเนื่องแน่นอน ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงงานจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนใช้แผ่นกันเสียงแก้ไขปัญหาเสียงดังในโรงงานอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เสียงดังจากโรงงานนั้น ดังกระทบทั้งคนทำงาน และคนในชุมชน โดยหากไม่รีบเร่งแก้ไข ปล่อยปัญหาให้เรื้อรังยาวนานต่อไป สุดท้ายแล้วไม่วันใดก็วันหนึ่งจะต้องถูกร้องเรียนฟ้องร้องจนทำให้เกิดความเสียหายมากมายแน่ ๆ
สำหรับผู้ประกอบการท่านใด ที่กำลังประสบปัญหาเสียงดังในโรงงาน ถูกชุมชนร้องเรียนให้แก้ไขปัญหาเสียงดังมาแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด สามารถขอคำแนะนำปรึกษาทีมงาน Acoustic Expert ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีมงานมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานให้ได้เกณฑ์ตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด พร้อมลงพื้นที่สำรวจหน้างานจริง และช่วยวางแผนติดตั้ง แก้ไขปัญหาเสียงได้กับทุกรูปแบบอุตสาหกรรม ทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย