โรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องมีเครื่องจักรและกระบวนการผลิตที่สร้าง “ปัญหาเสียงดังโรงงาน” อยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะปล่อยละเลยไม่ได้แก้ไข แม้ว่าเสียงดังรบกวนจะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับการทำงาน รวมถึงชุมชนรอบข้าง จนกว่าจะถูกร้องเรียน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ที่สุดนั่นก็คือ ถูกตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายหากเสียงดังรบกวนภายในโรงงานนั้นดังเกินกว่าที่มาตรฐานกฎหมายกำหนด
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และหากผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังพยายามจะวางแผนแก้ไขปัญหาเสียงดังที่เผชิญอยู่ล่ะก็ ต่อจากนี้ไปคือสิ่งที่ต้องรู้เสียก่อน เพื่อให้การลงทุนแก้ไขปัญหาเสียงดัง คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
1.ต้องรู้ว่าเสียงดังมาจากไหนทะลุไปไหนบ้าง
แม้หลาย ๆ คนจะโฟกัสกันไปที่เสียงดังจากเครื่องจักร แต่ก็ต้องบอกว่าแหล่งกำเนิดเสียงดังในโรงงานนั้นอาจมีมากกว่านั้น อาทิ เสียงดังจากระบบปรับอากาศภายในโรงงาน เสียงดังจากกิจกรรมการทำงาน เป็นต้น ซึ่งเมื่อรู้แล้วว่าแหล่งต้นกำเนิดเสียงมาจากอะไร ลำดับต่อไปที่สำคัญมากกว่าที่ต้องรู้ก็คือ “แล้วเสียงดังนั้นทะลุผ่านช่องทางไหนไปที่ไหนบ้าง?” เช่น ทะลุผ่านกำแพงผนังห้องเครื่องจักรไปยังห้องทำงานพนักงาน ทะลุผ่านฝ้าเพดาน หลังคา ดังออกไปสู่ชุมชนภายนอก ทะลุผ่านประตู หน้าต่าง ดังออกไปรบกวนแผนก หรือพื้นที่ส่วนอื่น ๆ เป็นต้น
โดยเหตุผลที่เราต้องรู้สิ่งเหล่านี้ ก็เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเสียงดังได้อย่างถูกจุด ตรงจุด และครบทุกจุด เพราะ ถ้ารู้เพียงส่วนหนึ่ง แก้ไขเพียงส่วนเดียว ก็แน่นอนว่าเสียงดังย่อมไม่ถูกกำจัดออกไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น หรืออธิบายให้ง่ายขึ้นก็คือ เสียงดังยังคงดังอยู่ไม่หายไปนั่นเอง
2.ต้องรู้ว่าเสียงดังมากเท่าไร
กฎหมายมีเกณฑ์กำหนดอย่างชัดเจนถึงระดับความดังที่เหมาะสม ที่โรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องควบคุมระดับเสียงให้ดังอยู่ภายในมาตรฐาน เพราะหากดังเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะถือเป็นการสร้างความเสี่ยงภัยอันตรายให้เกิดขึ้นกับสุขอนามัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่และผู้คนในชุมชนละแวกใกล้เคียงได้ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าที่กฎหมายต้องเข้ามาควบคุมดูแลนั้น เพราะเสียงที่ดังเกินไปนั้น คือมลพิษทางเสียงที่ทำให้ดูหนวกได้ ปวดศีรษะได้ เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียนได้ ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ ฯลฯ ซึ่งหากเข้าใจจุดนี้ เราก็จะต้องหันกลับมาดูโรงงานของเราว่า “มีระดับเสียงดังที่เกินมาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่?” ซึ่งจะไม่มีทางรู้ได้เลยหากไม่ได้ทำการ “วัดระดับเสียง”
นั่นเองจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราต้องรู้ระดับความดังของเสียงรบกวนในโรงงาน และเมื่อรู้แล้ว จะทำให้มีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ต้องการลดเสียงดังลงมากเท่าไร ให้เป็นที่พอใจ และให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่า ก็จะสอดคล้องกันกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเสียงดัง และงบประมาณที่ต้องใช้ด้วย
3.ต้องรู้ว่าต้องแก้ไขปัญหาอย่างไรให้ได้ผล
หลังจากที่ทราบแล้วว่าเสียงดังมาจากทางไหนทะลุผ่านช่องทางไหนไปไหนแล้วบ้าง พร้อมกับรู้แล้วว่าระดับความดังของเสียงนั้นอยู่ที่เท่าไร ต้องการลดความดังลงแค่ไหนเพื่อให้ถูกต้องเหมาะสม ลำดับสุดท้ายที่ต้องรู้ก็คือ จะแก้ไขอย่างไรให้ได้ผล โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานนั้น สามารถทำได้หลัก ๆ ด้วยการทำห้องครอบเครื่องจักร ด้วยการใช้วัสดุอะคูสติก ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออก อาทิ วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zoundblock หรือจะเสริม “ระบบผนังกันเสียง” เข้าเพิ่มเติมจากผนังเดิมในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังทะลุผ่านเข้าไปในพื้นที่อื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งสุดท้ายเมื่อเสียงดังทะลุออกไม่ได้ และทะลุผ่านไปยังพื้นที่อื่นลำบาก ก็จะถูกลดระดับความดังให้กลายเป็นเบาลงในที่สุดนั่นเอง
ในการวางแผนแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นจะต้องมั่นใจว่าสำรวจพื้นที่หน้างานได้ครบถ้วน รู้แหล่งกำเนิดเสียงและช่องทางผ่านเข้าออกของเสียงดังอย่างครบถ้วน พร้อมกับวัดระดับความดังของเสียงได้อย่างแม่นยำ จึงจะคำนวณปริมาณการใช้วัสดุอะคูสติได้เพียงพอกับการแก้ไขปัญหา และในส่วนของการติดตั้งก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่ติดตั้งอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ตัววัสดุอะคูสติกที่เป็นฉนวนกันเสียงเสียหาย เพราะหากระหว่างการติดตั้งเกิดมีการชำรุดของตัวฉนวนขึ้น อายุการใช้งานก็จะไม่ยาวนานเท่าที่ควร เสื่อมคุณภาพของการเป็นฉนวนได้ง่าย
ดังนั้น เพื่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานที่สูงที่สุด ได้ผลตามที่ต้องการและไม่ให้เกิดปัญหาวุ่นวายตามมาภายหลังที่ทำให้ต้องเสียเวลาและงบประมาณเพิ่มเติม จึงควรได้รับการตรวจสอบหน้างานพื้นที่จริงตั้งแต่แรกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และได้รับการดำเนินการทุกขั้นตอนภายใต้การดูแลของช่างมืออาชีพ
โดยผู้ประกอบการท่านใดที่มีปัญหาเสียงดังโรงงานอยู่และต้องการขอคำแนะนำก่อนตัดสินใจแก้ไขปัญหา ก็สามารถติดต่อผ่านทีมงาน Acoustic Expert ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้ง LineOA และ Facebook Fanpage