แนวทางออกแบบห้องประชุมให้ควบคุมเสียงได้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งาน

ห้องประชุม ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม เนื่องจากเป็นห้องที่ใช้ในการหารือ ระดมสมองและสรุปไอเดีย ดังนั้น ในการออกแบบ ห้องประชุม ควรคำนึงถึงฟังก์ชั่นการใช้งานเป็นหลัก โดยต้องมีการออกแบบอะคูสติกภายในห้องทั้งการกันเสียงและการดูดซับเสียงเพื่อลดเสียงก้อง ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ โดยมีคุณสมบัติในการกันเสียงและดูดซับเสียง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเสียงรบกวนและเสียงก้องขณะใช้งาน ห้องประชุม

โดยสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ค่า STC (SOUND TRANSMISION CLASS)  ค่าการกันเสียงของระบบผนังที่เหมาะสม และค่า NRC (NOISE REDUCTION COEFFICIENT) ซึ่งเป็นค่าการดูดซับเสียง เพื่อลดการสะท้อนของเสียง ทำให้สามารถใช้งานห้องประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การออกแบบห้องประชุม

ค่า STC คืออะไร?

ค่า STC คือ ค่าการกันเสียง ซึ่งเป็นตัวเลขค่าเดียวที่แสดงสมรรณะของการยอมให้เสียงจากอากาศผ่านไปได้มากน้อยแค่ไหนบนระบบกำแพง, พื้น, หรือฝ้าเพดาน โดยหาจาก TL ที่ความต่าง ๆ ในช่วง 125-4,000 Hz ซึ่ง STC เป็นค่าเฉลี่ยของ TL ซึ่งสามารถบอกได้ว่าผนังใด ๆ มีค่า STC สูงก็จะสามารถกันเสียงได้ดี

ค่า STC ที่เหมาะสมสำหรับการกันเสียงของผนังห้องประชุมในสำนักงาน ควรต้องพิจารณาว่าห้องประชุมอยู่ติดกับห้องอะไร เพื่อจะได้เลือกค่า STC ของผนังที่เหมาะสม โดยสามารถเทียบค่าจากตารางดังนี้

ตารางแสดงค่า STC ห้องประชุม

การปรับปรุงเสียง ภายในห้องประชุม

ผนังห้องประชุม

ระบบผนังเสียง ห้องประชุม

 

ติดตั้งห้องประชุม

การติดตั้งระบบผนังกันเสียงเพื่อลดเสียงรบกวนในห้องประชุม

การติดตั้งระบบผนังกันเสียง เพื่อป้องกันเสียงรบกวน จะใช้วัสดุอะคูสติกเอสซีจี สำหรับผนังกันเสียง  รุ่น Cylence Zoundblock  ติดตั้งตรงกลางระหว่างโครงคร่าว แล้วปิดทับด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีความหนา 8 มม. ขึ้นไป หรือยิปซั่มบอร์ดความหนา 12 มม. ขึ้นไป หากมีประตูหรือหน้าต่างควรเลือกรูปแบบที่มีการซีลขอบยางโดยรอบยาแนวรอบวงกบมิดชิด เลือกใช้วงกบที่มีบังใบหรือมีซับวงกบ เพื่อช่วยลดเสียงเข้าลอดผ่านเข้า-ออก

ติดตั้งระบบผนังกันเสียงในห้องประชุม

การออกแบบระบบผนังซับเสียงเพื่อลดเสียงก้องให้กับห้องประชุม

นอกจากการออกแบบอะคูสติกเพื่อกันเสียงภายในห้องประชุมแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยก็คือ เรื่องเสียงก้องและสะท้อนภายในห้องประชุมที่นับเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมีผลกระทบต่อการใช้งาน ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมหรือสัมนานั้น ฟังเนื้อหาหรือข้อมูลที่ต้องการสื่อสารไม่ชัดเจน  ซึ่งหากห้องที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ มีการใช้งานฟังก์ชั่นที่หลากหลาย  ก็ยิ่งควรต้องปรึกษาผุ้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำการออกแบบระบบอะคูสติกภายในให้มีการดูดซับเสียงให้เหมาะสม

และเลือกใช้วัสดุอะคูสติกที่มีค่าการดูดซับเสียงสูง  NRC ( NOISE REDUCTION COEFFICIENT ) เพื่อลดการสะท้อนของเสียงและเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  อย่างเช่น วัสดุอะคูสติก เอสซีจี สำหรับผนังตกแต่งและดูดซับเสียง รุ่น Cylence Zandera  ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงสูง โดยมีค่า NRC = 0.75   อีกทั้ง ยังมีรูปแบบและสีสันที่หลากหลาย สามารถตกแต่งห้องให้มีความสวยงามได้ตามสไตล์ที่ต้องการ  ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบา การติดตั้งง่ายเพียงใช้กาวพลังตะปู ติดที่ผนังตามที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานทั้งฟังก์ชั่นและดีไซน์

ค่า NRC ( Noise Reduction Coefficient)

ค่า NRC ( Noise Reduction Coefficient)  คือ ค่าการดูดซับเสียง เป็นตัวเลขที่ระบุได้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดยที่ NRC จะเป็นค่าเฉลี่ยของ SAC ( Sound Absorption Coefficient ) สัดส่วนของพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับไป เมื่อชนกระทบกับพลังงานเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ความถี่ 250,500,1,000,2,000 HZ  ซึ่งโดยทั่วไปค่า NRC จะต้องมีค่ามากกว่า 0.40 ถึงจะถือว่าเป็นวัสดุดูดซับเสียง

ค่า NRC ห้องประชุม

ห้องประชุม ผนังเสียง

ผนังห้องประชุมสวย

สำหรับปริมาณการติดตั้ง แผ่นซับเสียง รุ่น Cylence Zandera จะต้องติดกี่เปอร์เซนต์ ของห้องที่จะลดเสียงก้องได้อย่างมีประสืทธิภาพ

สามารถเทียบได้จากตารางแสดงขนาดของห้องและ % การติดตั้งได้ดังนี้

ปริมาณการติดตั้ง แผ่นซับเสียง ห้องประชุม

ตัวอย่างการคำนวณ

จากตารางข้างต้น หากเราต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องของห้องประชุมซึ่งมีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 3.30 เมตร เราจะต้องติดตั้ง วัสดุอะคูสติก รุ่น Cylence Zandera  กี่ตารางเมตร?

วิธีคิด : อันดับแรกเราต้องดูก่อนว่า ห้องมีความสูงเท่าไร แล้วจึงค่อยไปคำนวณตามตาราง

จากโจทย์ ห้องสูง 3.30 เมตร ในตารางบอกว่าจะต้องติดวัสดุดูดซับเสียง Cylence Zandera 94% ของพื้นที่ห้อง ซึ่งพื้นที่ห้องโจทย์เท่ากับ 5 x 10 เมตร เท่ากับ  50  ตารางเมตร ดังนั้น จะต้องติดวัสดุดูดซับเสียงทั้งสิ้น เท่ากับ 94% ของ 50 ตารางเมตร = ประมาณ 47 ตารางเมตร

ซึ่งการออกแบบห้องประชุมสัมมนา มีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบกัน เช่น  ขนาดของห้อง , รูปแบบของการวางที่นั่ง,จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา,  เวที , ทางเข้าออก ,วัสดุที่ใช้ตกแต่ง  และระบบโสตทัศนูปกรณ์ ต่าง ๆ ที่จะต้องสัมพันธ์กัน

เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัวแปรที่สำคัญที่ใช้ในการบ่งบอกสภาพทางอะคูสติกส์ของห้อง คือ ค่าเวลากังวาน (Reverberation Time,RT) คือ  ค่าที่บ่งบอกถึงระดับความก้องของเสียง ภายในห้อง โดยค่าเวลากังวานที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของห้องและปริมาตรของห้องเป็นหลัก

Reference Site

ปรับปรุงห้องประชุมวังศาลาในส่วนออฟฟิศ

ปัญหาที่พบ :  เสียงก้องมาก เนื่องจากผนังเป็นกระจกรอบด้าน

READ  ปัญหาเสียงก้องในห้องอัด จัดการแก้ไขอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด

ห้องประชุมวังศาลา 1

ห้องประชุมวังศาลา ในส่วนออฟฟิศ
รูปก่อนติดตั้งแผ่นซับเสียง รุ่น Cylence Zandera

การวัดเสียงห้องประชุมก่อนปรับปรุง 

การวัดเสียงห้องประชุม
จากค่าเฉลี่ยที่วัดได้ จากเครื่องวัดเสียงพบว่ามีความก้องของเสียงอยู่ที่  1.71. วินาที
ห้องประชุมสวย
รูปหลังการติดตั้งแผ่นซับเสียง รุ่น Cylence Zandera บริเวณผนังห้องประชุมซึ่งเป็นกระจกรอบด้าน
ติดตั้งแผ่นซับเสียง รุ่น Cylence Zandera ห้องประชุม
ติดตั้งแผ่นซับเสียง รุ่น Cylence  Zandera บนฝ้าเพดานบริเวณกลางห้องบางส่วน เพื่อช่วยลดความก้องของเสียง

การวัดเสียงห้องประชุมหลังปรับปรุง

การวัดเสียงห้องประชุม1

สรุปค่า RT ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความก้องของห้องประชุม ก่อนและหลังการปรับปรุง

ค่า RT ห้องประชุม
จากค่าเฉลี่ยที่วัดได้ หลังจากที่ติดตั้งแผ่นซับเสียง ความก้องของเสียงอยู่ที่  0.55 วินาที

ห้องวังศาลามีปริมาตรประมาณ 160 m3 เป็นการใช้งานแบบ Speech rooms ดังนั้นค่า RT ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.7 โดยหลังจากการปรับปรุงได้ค่า RT = 0.55 ซึ่งดีกว่าค่าแนะนำทั่วไป

อย่างไรก็ตามการออกแบบห้องประชุมให้สามารถใช้งานได้ตามฟังก์ชั่นที่ต้องการ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ควรต้องทำการออกแบบและวางแผน ก่อนทำการก่อสร้าง เพราะหากมีการก่อสร้างไปแล้ว การแก้ไขอาจทำได้ แต่ก็ส่งผลกระทบกับการใช้งานทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่ายที่สูงตามมาด้วย ดังนั้นจำเป็นที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้คำแนะนำในการออกแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดย Cylence Expert เป็นทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบ และแก้ปัญหาเรื่องเสียง อย่างครบวงจร  ซึ่งให้บริการแก้ปัญหาเรื่องเสียงมาอย่างยาวนาน ด้วยทีมงานคุณภาพ  และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องเสียง ซึ่งมีบริการให้คำปรึกษา, เข้าสำรวจหน้างาน, วัดเสียงก่อนและหลังการปรับปรุง, วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข   โดยคำนึงถึงงบประมาณของลุกค้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สนใจ ปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง หรือต้องการบริการออกแบบห้องประชุมครบวงจร สามารถติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ขอคำปรึกษาได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

Loading Facebook Comments ...

ท่านสามารถขอยกเลิกความยินยอม ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลที่ Acoustic Expert เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ โดยที่ระบุไว้ใน นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อที่ data.privacy@scg.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า