วิธีแก้ปัญหาเสียงดังโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้เสี่ยงผิดกฎหมาย

ปัญหาเรื่องเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน เพราะหากเสียงดังเกินมากเกินมาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด จนเกิดมลพิษทางเสียง จะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของพนักงานที่ต้องทำงานภายใต้เสียงรบกวนตลอดเวลา ส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โดยภายในโรงงาน พื้นที่ที่พนักงาน ทำงาน 8 ชม.ต้องได้รับเสียงเฉลี่ยไม่เกิน 85dBA  และค่าระดับเสียงสูงสุด ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานจะต้อง ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ไม่ว่าจะวัดในโรงงานหรือนอกโรงงาน  ซึ่งหากมีระดับเสียงที่เกินกำหนด  ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงที่อาจมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นได้

สาเหตุเสียงดังในโรงงานที่พบบ่อยเกิดจากการทำงานของเครื่องจักร

ส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักร มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังรบกวน ดังนั้นจึง ควรมีการตรวจสอบเช็คสภาพของเครื่องจักรอยู่เป็นประจำ ว่าเกิดชำรุดหรือไม่ หากพบว่าชำรุดก็ควรรีบซ่อมแซม หรือหากเป็นเครื่องจักรใหม่

ที่มีเสียงดังรบกวน ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไข

สำหรับแนวทางแก้ไข

  • การทำห้องครอบเครื่องจักร เพื่อควบคุมเสียงไม่ให้ออกไปรบกวนบริเวณพื้นที่ส่วนอื่นๆที่รบกวนการทำงานของพนักงาน และพื้นที่ข้างเคียง โดยติดตั้งวัสดุอะคูสติก เอสซีจี สำหรับผนัง กันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock หรือ วัสดุอะคูสติก  เอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียง รุ่น Zoftone ภายในห้องครอบ
  • การทำผนังซับเสียง โดยการติดตั้งวัสดุอะคูสติก เพื่อช่วยซับเสียง เครื่องจักร บริเวณผนัง โดยใช้วัสดุอะคูสติกเอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บุด้านในเพื่อช่วยลดความดังของเสียง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความดังของเสียง และแต่ละสถานประกอบการณ์  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอะคูสติก ให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

ตัวอย่าง : การทำห้องกันเสียงเครื่องตัดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ โรงงานสระบุรี

ปัญหาที่พบ :  เสียง เกินมาตรฐานที่กม.กำหนดโดยวัดได้ 91dB จึงต้องการลดเสียงรบกวนในห้องตัดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ให้ต่ำกว่า  85dBA ภายในพื้นที่ ที่พนักงานทำงาน 8ชม.

แนวทางแก้ไข :  ทำห้องครอบกันเสียง ให้ได้ค่าต่ำกว่ามาตรฐาน

ห้องครอบกันเสียง

เข้าสำรวจหน้างาน และทำการวัดเสียงบริเวณเครื่องจักร

 เข้าสำรวจหน้างานและทำการวัดเสียง โดยได้ค่า 91dB ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด คือ 85dB

ห้องครอบเครื่องจักร

เริ่มติดตั้งโครงสำหรับห้องครอบเครื่องจักร

ห้องครอบเครื่องจักร

ห้องครอบเครื่องจักร

ดำเนินการติดตั้งห้องครอบเครื่องจักร

เครื่องจักร

หลังจากติดตั้งเสร็จ ทำการวัดเสียงอีกครั้ง โดยเสียงลดลง 10 dBA จาก 91.1 dBA เหลือ 81.1 dBA ทำให้ผ่านข้อกำหนดกฏหมายภายในโรงงานที่ไม่เกิน 85dBA และพนักงานที่ทำงานแจ้งว่าหลังติดตั้งเสียงเบาลงเยอะ

ตัวอย่าง   :  การติดตั้งแผ่นซับเสียงห้องทดสอบเครื่องยนต์ โรงงานในปราจีนบุรี

ปัญหาที่พบ :  ห้อง Test เครื่องยนต์เสียงดังมากทำให้ให้พนักงานที่เข้ามาเปลี่ยนเครื่องยนต์สำหรับทดสอบได้รับมลพิษทางเสียง

แนวทางแก้ไข : ติดตั้งแผ่นซับเสียง Cylence Zoftone ในห้องเครื่องจักรจะช่วยลดเสียงภายในโดยจะช่วยลดเสียงลงได้จากเดิม 4-7 dBA

เข้าสำรวจหน้างานและวัดความดังของเครื่องจักรซึ่งวัดได้ 102.7dBA เกินค่ามาตรฐานที่กม. กำหนด และทำการติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังดูดซับเสียง รุ่น Zoftone บริเวณผนังในห้องเครื่องจักร

Cylence Zoftone

ติดตั้งวัสดุอะคูสติก สำหรับผนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณเพดาน

ผนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone

ติดตั้งวัสดุอะคูสติก สำหรับผยนังซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณประตู

ทำการวัดเสียง หลังจากติดตั้งแผ่นซับเสียง Cylence Zoftone ภายในห้อง เสียงในห้องจากเดิมที่ดังอยู่ 102.7dBA หลังติดตั้งเสียงลดลงเหลือ 91.6 dBA ภายนอกห้องก่อนติดตั้ง และหน้าห้องที่ติดตั้งจากเดิมค่าเสียงที่วัดได้อยู่ที่ 76.4dBA หลังติดตั้ง Zoftone บริเวณหน้าห้องลดลงเหลือ 68.1 dBA/ โดยพนักงานแจ้งว่าได้ยินน้อยลงกว่าเดิม

กรณีที่เสียงเครื่องจักรดัง รบกวนชุมชนใกล้เคียง

โรงงานและสถานประกอบการทีตั้งอยู่ใกล้เขตชุมชน ควรคำนึงถึง เรื่องเสียงการทำงานของเครื่องจักรโดยต้องควบคุม ปริมาณความดังของเสียง ไม่ให้เกินมาตรฐานที่ กม.กำหนด ซึ่งค่าระดับเสียงเฉลี่ย  24  ชั่วโมง  ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ต้อง ไม่เกิน  70 เดซิเบลเอ  ซึ่งควรต้องมีการตรวจวัดระดับความดังของเสียง ในโรงงานส่วนใหญ่จะวัดที่ ริมรั้วเพราะจะใกล้กับเขตบ้านหรือชุมชนมากที่สุด ซึ่งหากมีการร้องเรียน จากชุมชน ใกล้เคียง สถานประกอบการจะต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรง

สำหรับแนวทางแก้ไข

อาจทำห้องครอบเครื่องจักร เพื่อควบคุมเสียงไม่ให้ดังออกไปรบกวนภายนอกโรงงาน ,ทำผนังอาคารโรงงานหรือ ทำระบบรั้วป้องกันเสียง ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติก

ตัวอย่าง : การทำห้องครอบเครื่องบดเศษแก้ว ในโรงงานจ.สระบุรี

ปัญหาที่พบ :  เนื่องจากชุมชนร้องเรียนต้องการให้ลดเสียงจากเครื่องบดเศษแก้วและBlower  จึงต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด

แนวทางก้ไข : ทำห้องครอบกันเสียงและปล่องซับเสียงที่ Blower พร้อมคำนวณว่าสามารถลดเสียงลงได้ประมาณ 10dBA และเพื่อช่วยลดเสียงให้กระทบชุมชนให้น้อยลง

ติดตั้งเสียง

เข้าทำการสำรวจและวัดเสียงหน้างาน ก่อนติดตั้งเสียงดังอยู่ 94.3dBA ดังอยู่ 94.3dBA

เครื่องบดแก้ว

ตรวจสอบตัวเครื่องบดแก้วที่ เสียงดังรบกวน ก่อนติดตั้งห้องครอบ

เครื่องจักร

ติดตั้งห้องครอบเครื่องจักรเพื่อลดเสียงไม่ให้ดังออกไปรบกวนชุมชนใกล้คียง

รุ่น Cylence Zoftone

ด้านในติดตั้งวัสดุอะคูสติก เอสซีจี สำหรับผนังดูดซับเสียงรุ่น  Cylence Zoftone โดยรอบห้องครอบ

รุ่น Cylence Zoftone 2

ติดตั้งห้องครอบ เครื่องบดเศษแก้ว

เครื่องจักร

ขั้นตอนสุดท้าย ทำการวัดเสียงหลังจากติดตั้งห้องครอบกันเสียงที่เครื่อง Cyclone รวมปล่องซับเสียงเครื่อง Blower เสียงลดลงเหลือ 82.1dBA /   โดยทางชุมชนไม่ร้องเรียนเรื่องเสียงดังจากเครื่องบดเศษแก้วอีกต่อไป

READ  รวมคำตอบคำถามคาใจ ที่หลายคนสงสัยก่อนทำผนังกันเสียง

กรณีเสียงดังรบกวนภายในห้องคอนโทรล

ห้องคอนโทรลในโรงงานส่วนใหญ่ ถือเป็นพื้นที่สำคัญที่พนักงานต้องใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งจำเป็นต้องใช้สมาธิในการทำงาน หากมีเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรเข้าภายในห้อง นอกจากจะทำให้เกิดความรำคาญ แก่พนักงานที่ต้องปฎิบัติงานทุกวันแล้วอาจทำให้ขาดสมาธิ และเกิดความผิดพลาด และความเสียหายตามมา เช่น เครื่องจักรขัดข้อง ทำให้ต้องหยุดการผลิต สินค้าเกิดความเสียหาย ไม่ได้ปริมาณตามเป้าหมาย  บางครั้งอาจจะเกิดอันตรายกับผู้ที่ปฎิบัติงานในไลน์ผลิตจึงควรหาวิธีการแก้ไขโดยเร็ว

ตัวอย่าง :  การทำผนังกันเสียงห้อง Control ในโรงงาน ที่กาญจนบุรี

ปัญหาที่พบ :  เสียงรบกวนจากเครื่องจักรเข้าภายในห้องคอนโทรล

แนวทางแก้ไข :  เสริมผนังกันเสียงนอกห้องคอนโทรล ปิดหน้าต่างบางส่วนและเสริมหน้าต่างใหม่อีก 1 ชั้น เสริมประตูกันเสียงอีกชั้นนึงและทำห้องต่อจากประตูเดิมสำหรับเปิด 2 ชั้น [Soundlock]

เครื่องจักร

สำรวจหน้างานบริเวณ ห้องคอนโทรลภายในโรงงาน

ติดตั้งผนังกันเสียง

ติดตั้งผนังกันเสียงบริเวณห้องคอนโทรล ที่เสียงดังรบกวน

ผนังกันเสียง

ผนังกันเสียง

หลังดำเนินการติดตั้งแล้ว เสียงภายในห้องลดลง จากเดิมที่วัดค่าอยู่ที่ 69.0 dBA หลังปรับปรุงเหลือ 63.3 dBA ลูกค้าได้ยินเสียงเครื่องจักรเข้ามาในห้อง Control น้อยลง

ดังนั้นการควบคุมเสียง ในโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ ผู้ประกอบการทุกราย ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสหกรรมใดก็ตาม เพื่อให้พนักงานได้ทำงานอย่างปลอดภัย ไร้มลพิษทางเสียง และเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชนใกล้เคียง ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืน

และที่สำคัญ จำเป็นต้องอาศัยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงในโรงงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทีมงาน Cylence Expert  เป็นทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ด้านอะคูสติก ที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงในโรงงานทุกรูปแบบ ด้วยทีมงานคุณภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องเสียง อย่างมีประสิทธิภาพ

กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการควรทราบ

  • การตรวจวัดเสียงจากสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการตรวจวัดและประเมินเสียงรบกวนที่เกิดจากการทำงานในโรงงานจนอาจเป็นปัญหากับพนักงานในโรงงาน
  • การตรวจวัดเสียงรบกวน เป็นการตรวจและประเมินเสียงรบกวนที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ว่าเป็นปัญหาจนทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบหรือไม่
  • การตรวจวัดเสียงจากสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นการตรวจประเมินเสียงทั่วไปที่เกิดขึ้นรอบ ๆ บริเวณชุมชน เพื่อดูว่ามีปัญหามลพิษทางเสียงรบกวนหรือไม่ ซึ่งโรงงานก็ถือเป็นสภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่หากถูกตรวจวัดว่าเป็นมลพิษต่อชุมชน ก็ต้องมีการปรับ และวางมาตรฐานป้องกันแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม
  • การตรวจวัดเสียงจากสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงาน อยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ ถ้าพนักงานทำงาน 8 ชั่วโมงทำงาน หรือเวลาการได้สัมผัสเสียง 8 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ยต่อการทำงานต้องไม่เกิน 90 เดซิเบลเอ และยังกำหนดระดับเสียงสูงสุดของการทำงานแต่ละวัน จากค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน รวมทั้งเสียงกระแทกกระทบ ต้องไม่เกิน 140 เดซิเบลเอ ซึ่งหากเกินนายจ้างต้องปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานให้เสียงเบาลง แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องหาอุปกรณ์ป้องกันให้กับพนักงานเพื่อลดเสียงไม่ให้เกินมาตรฐาน
  • กำหนดค่าระดับเสียงเฉลี่ยนต่อเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากับ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไปต้องมีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามประกาศสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องควบคุมไม่ให้บริเวณปฏิบัติงานในโรงงานมีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด และห้ามให้พนักงานเข้าไปทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังเกินกว่า 140 เดซิเบลเอ
  • ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ฉบับ 29 (พ.ศ. 2550) และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องเสียงรบกวน 2548 มีแนวทางในการกำหนดเรื่องระดับเสียงรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ได้แก่ ค่าระดับเสียงรบกวน ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงสูงสุด ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ สามารถเข้าในโรงงาน สถานที่เพื่อตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ เครื่องจักร หรือกระทำการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนได้
  • กรณีตรวจพบว่ามีการกระทำความผิด หรือสงสัยว่ากระทำ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจสามารถจับกุมส่งสอบสวนได้ตามกฎหมาย
  • กรณีพบว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลและทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสามารถสั่งระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนได้ หรือสั่งให้แก้ไข ปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ในกรณีที่เห็นสมควร
  • หากได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงแล้วว่าโรงงานผิดกฎหมายด้านการควบคุมเสียง แต่ยังฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละ 5,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือยังไม่ปฏิบัติแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงหากมีการห้ามใช้เครื่องจักรที่มีปัญหาเสียงดังแล้ว แต่ยังมีการฝ่าฝืน ก็ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน
Loading Facebook Comments ...

ท่านสามารถขอยกเลิกความยินยอม ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลที่ Acoustic Expert เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ โดยที่ระบุไว้ใน นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อที่ data.privacy@scg.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า