Cylence Zoundblock

ปัญหาเสียงกวนใจ ที่ทำให้ห้องซ้อมดนตรีไม่มีประสิทธิภาพ

ห้องซ้อมดนตรี ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความสนใจในการเล่นดนตรีที่ไม่เคยเสื่อมคลายเลยแม้จะผ่านไปกี่ยุคสมัย หรือต่อให้ไม่ได้สร้างห้องซ้อมดนตรีขึ้นมาเพื่อการพาณิชย์ ก็มีหลายๆ คนดัดแปลงห้องในบ้านพักอาศัยให้กลายเป็นห้องซ้อมดนตรีส่วนตัวไม่น้อย แต่กระนั้น การทำห้องซ้อมดนตรีก็ไม่ใช่จะเป็นเรื่องง่าย โดย 2 ปัญหาเสียงใหญ่ๆ ที่มักพบได้บ่อย ในการทำห้องซ้อมดนตรีนั้น มีดังต่อไปนี้

1.ปัญหาเสียงดังในห้องซ้อมดนตรี ทะลุออกไปภายนอก

โดยส่วนใหญ่แล้วกับการทำห้องซ้อมดนตรีนั้น เกือบทุกคนจะโฟกัสไปที่การควบคุมเสียงภายในห้องซ้อมให้มีประสิทธิภาพ ไม่ก้อง ไม่สะท้อน เป็นหลัก เพื่อจะได้ทำให้การซ้อมดนตรีนั้น สามารถได้ยินเสียงเพลงที่เล่นออกมาได้อย่างชัดเจน และรับทราบข้อดี ข้อเสีย ข้อบกพร่องของการฝึกซ้อมได้ อันนำไปสู่การพัฒนาให้ฝีมือการเล่นดนตรีดีขึ้น

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่วัสดุสำหรับป้องกันเสียงก้องเสียงสะท้อนที่ใช้ในห้องซ้อมดนตรีนั้น ไม่ได้สามารถป้องกันเสียงดังจากภายในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ห้องซ้อมดนตรีจำนวนมาก เกิดปัญหาเสียงจากภายในห้องดังทะลุออกมาสร้างความรบกวนภายนอก และก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง และความไม่สงบตามมาในที่สุด

ทั้งนี้ ปัญหาเสียงดังทะลุออกมาจากห้องซ้อมดนตรีนั้น อาจเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ อาทิ โครงสร้างผนังเดิมไม่แข็งแรง ไม่หนาพอ ไม่มีการเสริมผนังเพิ่ม จึงทำให้เสียงทะลุผ่านออกมาได้ ฝ้าเพดานมีโถง เป็นฝ้าลอย และไม่ได้มีการเสริมฝ้า หรือติดฉนวน จึงมีทางผ่านให้เสียงทะลุดังออกไป หรือประตูห้อง รูปลั๊ก ในห้องซ้อมดนตรีมีช่องว่าง มากเกินไป ก็ทำให้เสียงดังทะลุออกไปนอกห้องได้เช่นกัน

Cylence Zoundblock

แนวทางการแก้ไขปัญหา: สำหรับปัญหาเสียงดังภายในห้องซ้อมดนตรีทะลุออกมาภายนอกห้องนั้น วิธีแก้ที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการเสริมผนังกันเสียง ติดฉนวนบริเวณฝ้าเพดาน และอุดช่องว่างตามรอยประตูหน้าต่าง ให้แน่นหนาที่สุด

ทั้งนี้ วัสดุอะคูสติกที่แนะนำได้แก่ ผนังกันเสียง SCG รุ่น Cylence Zoundblock เพราะเป็นฉนวนแบบแผ่นแข็งที่หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้นใส่สารไม่อุ้มน้ำในเนื้อฉนวน ทำให้คงประสิทธิภาพในการกันเสียงได้ยาวนาน และที่สำคัญคือ ใช้ร่วมกับผนังได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบผนังสมาร์ทบอร์ด ระบบผนังยิปซั่ม หรือระบบผนังอิฐมวลเบา และอิฐมอญ ฯลฯ

จึงไม่ต้องกังวลว่าจะใช้ร่วมกับห้องซ้อมดนตรีของตัวเองไม่ได้ ในส่วนของฝ้าเพดานนั้น ก็อาจเสริมด้วยฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ซึ่งนอกจากจะช่วยกันเสียงได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังทำให้ห้องเย็นน่าใช้งานมากขึ้นอีกด้วย และส่วนสุดท้ายบริเวณประตู หากเนื้อประตูบางก็แผ่นเสริมเข้าไปให้หนาขึ้น แต่หากช่องวงกบประตูเหลือเยอะ เสียงทะลุผ่านได้มาก ก็อาจใช้เป็นเทปกันเสียง Noise Zeal ปิดลดช่องว่างไปตามวงกบ ก็จะช่วยป้องกันเสียงดังจากภายในห้องซ้อมดนตรีไม่ให้ดังทะลุออกไปภายนอกได้ดียิ่งขึ้น

Cylence Zoundblock

2.ปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องซ้อมดนตรี

ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนที่ต้องการทำห้องซ้อมดนตรีโฟกัสและให้ความสำคัญกันมากที่สุด แต่ก็ยังคงพบปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนได้มากเหมือนเดิมอยู่ดี ซึ่งสาเหตุหลักๆ นั้นมาจากวัสดุป้องกันเสียงก้องเสียงสะท้อนที่เลือกใช้นั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอ และใช้ในปริมาณที่น้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อขนาดและลักษณะของห้อง จึงทำให้แม้จะติดตั้งผนังหรือแผ่นดูดซับเสียงไปแล้ว ก็ยังคงพบปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนให้ห้องซ้อมดนตรีได้อยู่

Cylence Zoundblock

แนวทางการแก้ไขปัญหา: หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องซ้อมดนตรีนั้น คือการเลือกวัสดุอะคูสติกที่มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่เหมาะสมกับห้อง โดยวัสดุอะคูสติกที่แนะนำได้แก่ ผนังตกแต่งดูดซับเสียง SCG รุ่น Cylence Zandera ซึ่งเป็นผนังที่ผลิตจากแผ่นกลาสวูลที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นแผ่นแข็ง มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย หุ้มด้วยผ้าสีสันลวดลายสวยงาม

ไม่เพียงแค่ช่วยแก้ไขปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนได้ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการตกแต่งห้องซ้อมดนตรีให้สวยงามน่าใช้ไปด้วยพร้อมกันในตัว ทั้งนี้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเสียงของ Cylence Zandera นั้น ถือว่าอยู่ในระดับชั้นนำของสินค้าวัสดุดูดซับเสียงในตลาด เพราะเป็นผนังดูดซับเสียงที่มีค่า NRC หรือ ค่าการดูดซับเสียงสูงถึง 0.75 เลยทีเดียว

ส่วนเรื่องของปริมาณแผ่นซับเสียงที่เหมาะสมกับการทำห้องซ้อมดนตรีให้ไร้ปัญหาเสียงนั้น คือ ควรใช้ผนังดูดซับเสียงอย่างน้อย 60% ของขนาดพื้นที่ห้องซ้อมดนตรี จึงจะสามารถควบคุมเสียงภายในห้องซ้อมไม่ให้ก้องไม่ให้มีเสียงสะท้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cylence Zandera

ห้องซ้อมดนตรีที่ดีนั้น นอกจากจะต้องควบคุมให้เสียงดนตรีที่เล่นภายในห้องไม่มีเสียงก้อง เสียงสะท้อนแล้ว ยังต้องสามารถป้องกันไม่ให้เสียงดนตรี ดังออกมาสร้างความรบกวนภายนอกให้ได้ด้วย เพราะแม้เสียงดนตรีจะมีความไพเราะ แต่ก็อยู่ในระดับที่ดังจนสร้างความรำคาญและความหงุดหงิดใจให้กับคนที่ไม่ต้องการฟังได้

อีกทั้งยังรบกวนการพักผ่อนของผู้คนและชุมชนในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย ทั้งนี้ หากจะถามถึงแนวทางการทำห้องซ้อมดนตรีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ก็ควรเป็นการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยตรง เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงจะสามารถตรวจสอบพื้นที่หน้างาน และวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาเสียงได้อย่างแม่นยำ คำนวณตำแหน่ง และจำนวนวัสดุอะคูสติกที่ต้องใช้ติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

ทำให้ควบคุมงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้งานที่ดี ได้ห้องซ้อมดนตรีที่ไม่มีปัญหาทั้งเสียงก้อง เสียงสะท้อน และเสียงดัง ทำให้เราไม่ต้องมาเหนื่อยเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมภายหลังกับการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม

บทความที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า