การติดตั้งวัสดุอะคูสติก ผนังกันเสียง วัสดุดูดซับเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและเสียงก้องของโรงงานหรือที่อยู่อาศัยนั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่ใครจะทำก็ได้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงสิ้นเปลืองงบประมาณกับการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุดและไม่ได้ผลแล้ว ยังเสี่ยงได้รับอันตรายระหว่างการติดตั้ง จนอาจทำให้เสียสุขภาพหรือร้ายแรงถึงขั้นมีโอกาสเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
การติดตั้งฉนวนควบคุมเสียง
หลายๆ ครั้งในการแก้ไขปัญหา เราก็มักจะรู้สึกว่า ไม่เห็นจำเป็นต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเลย สามารถศึกษาและทำเองก็ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อออนไลน์ให้เรียนรู้ง่ายๆ ก็ยิ่งทำให้บ่อยครั้ง เราก็มักละเลยและไม่สนใจถึงความจำเป็นในการจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
อย่างเช่นกับเรื่องการแก้ไขและควบคุมปัญหาเสียงในโรงงานหรือในบ้านที่พักอาศัยก็เช่นกัน ที่ผู้ประกอบการและคนส่วนใหญ่ ยังคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเพียงแค่ไปซื้อวัสดุอะคูสติก เช่น ฉนวนกันเสียง ฉนวนดูดซับเสียง แล้วอ่านคู่มือเอาก็พอทำได้แล้ว ยิ่งโรงงานมีคนงานด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่เห็นความจำเป็นของการใช้บริการการติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญเข้าไปใหญ่ ซึ่
งในความเป็นจริงนั้น ถึงแม้จะทำได้ แต่ก็มีความเสี่ยงมาก โดยนอกจากจะเสี่ยงในเรื่องของการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเสียงได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการติดตั้งโดยผู้ไม่มีประสบการณ์อีกด้วย ทั้งนี้ คำเตือนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการติดตั้งวัสดุอะคูสติกนั้น มีรายละเอียดที่ต้องควรเฝ้าระวัง ดังต่อไปนี้
- ในการติดตั้งฉนวนกันเสียง ผนังกันเสียง หรือวัสดุดูดซับเสียง อาจจำเป็นต้องมีการเจาะผนัง ขึ้นผนังเบา จึงทำให้พื้นที่ในการติดตั้งเกิดฝุ่นละออง ผู้ทำการติดตั้งจึงควรแต่งกายมิดชิด สวมถุงมือ รองเท้าหุ้มส้น แว่นตานิรภัยและผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองในพื้นที่
- เนื่องจากงานติดตั้งมีลักษณะของการเจาะผนัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเดินสายไฟฟ้า ในการติดตั้งจึงต้องทำการตัดกระแสไฟฟ้าทุกครั้ง และต้องมั่นใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลเด็ดขาด เพราะหากเกิดการผิดพลาด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ในการติดตั้งวัสดุอะคูสติก ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปูวัสดุทับหลอดไฟ หรือแหล่งความร้อน เพราะจะทำให้หลอดไฟมีโอกาสแตกและเป็นอันตรายได้
- ในโรงงานอุตสาหกรรม การติดตั้งวัสดุอะคูสติกเพื่อควบคุมเสียงนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบพื้นที่อย่างรัดกุม โดยห้ามติดตั้งในบริเวณที่มีไอระเหยของสารเคมี เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ทำการติดตั้งและคนในพื้นที่ได้
- ไม่ควรติดตั้งวัสดุอะคูสติกในบริเวณที่โดนแสงแดด และที่สัมผัสความชื้อและน้ำโดยตรง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของวัสดุติดตั้งนั้นลดน้อยลง
- ในการใช้เครื่องมือที่มีลักษณะแหลมคมประกอบการติดตั้ง จำเป็นต้องระมัดระวังไม่ให้ปลายแหลมของอุปกรณ์ทำให้วัสดุปิดผิวฉนวนที่หุ้มไว้ฉีกขาด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของวัสดุลดน้อยลง
- ในการติดตั้งที่จำเป็นต้องมีการสัมผัสฉนวน ควรป้องกันให้ตัวเองไม่สัมผัสกับฉนวนโดยตรง เพราะบางคนอาจเกิดอาการแพ้และเป็นอันตรายได้ ซึ่งหากเกิดอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสฉนวนควรใช้น้ำอุ่นล้าง หรือแช่ทำความสะอาด และหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- ภายหลังการติดตั้งแล้วเสร็จ จำเป็นต้องตรวจสอบรอยฉีกขาด หรือตำหนิที่ฉนวน ซึ่งหากประเมินแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จำเป็นต้องแก้ไขให้เรียบร้อยทันที
- เครื่องแต่งกายของผู้ติดตั้งที่ใช้เข้าทำการปฏิบัติการติดตั้งวัสดุอะคูสติก เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรแยกซัก แยกทำความสะอาด ไม่ให้ปนกันกับเครื่องแต่งกายธรรมดา เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีหรือฝุ่นอันตรายที่อาจติดไปกับเสื้อผ้าปกติและเกิดอาการแพ้ได้
ในความเป็นจริงแล้ว การติดตั้งวัสดุอะคูสติก ไม่ว่าจะเป็นผนังกันเสียง หรือวัสดุดูดซับเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและเสียงก้องเสียงสะท้อนนั้น เป็นทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่ควรได้รับการปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยเฉพาะ หากแต่บ่อยครั้ง เราก็มักคิดว่าเป็นเรื่องที่ใครก็สามารถทำได้ เหมือนกับเปลี่ยนหลอดไฟ ซึ่งแน่นอนว่าก็อาจจะทำได้ แต่จะทำได้ดีแค่ไหน ปลอดภัยแค่ไหน และผลลัพธ์ของการติดตั้งจะออกมาประสบความสำเร็จเพียงใด ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากผู้มีความรู้จริงๆ เท่านั้นที่จะสามารถการันตีคุณภาพ ความคุ้มค่า และความปลอดภัยให้เราได้ดีที่สุด
ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเสียงที่รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่นั้น หากมีความต้องการที่จะต้องแก้ไขด้วยการติดตั้งวัสดุอะคูสติกแล้วล่ะก็ การใช้บริการขอคำปรึกษาและดำเนินการแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง คือทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมากที่สุด